กรณีศึกษาที่ 1 : ในกระบวนการผลิตอาหารบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป การตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเครื่องปรุงต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญ ออมรอนมีโซลูชั่นช่วยในการตรวจสอบอย่างไร ? ปัญหา : ในกระบวนการบรรจุบะหมี่และซอสปรุงรส บางครั้งเราอาจพบว่าไม่มีซองเครื่องปรุงในบรรจุภัณฑ์ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของคนงาน ลูกค้าจึงต้องการใช้เซนเซอร์เพื่อตรวจสอบว่ามีซองซอสอยู่หรือไม่เพื่อให้แน่ใจก่อนส่งไปยังแผนกบรรจุภัณฑ์ ออมรอนจะมีโซลูชั่นไหนเพื่อการแก้ปัญหานี้ ออมรอนขอนำเสนอโซลูชั่นการติดตั้งเลเซอร์เซนเซอร์รุ่น E3NC-SA21 ( CMOS ) พร้อมหัว E3NC-SH250 โดยเซนเซอร์จะสามารถตรวจจับได้ว่ามีหรือไม่มีซอสเครื่องปรุง นอกจากนี้แล้วการ teching ยังมีจุดเด่นด้านการปรับแต่งตั้งค่าการตรวจจับได้ง่าย ๆ ทั้งแบบมีและไม่มีซอส กรณีศึกษาที่ 2 : ในระบบสายพานลำเลียง การตรวจสอบถาดแต่ละขนาดว่า มี/ไม่มี แคร็กเกอร์ ปัญหา : ลูกค้าต้องการใช้เซนเซอร์ตรวจสอบตำแหน่งของถาดก่อนเติมแคร็กเกอร์ แต่ไม่สามารถใช้หัวไฟเบอร์แบบธรรมดาได้ด้วยเพราะถาดขนมที่แตกต่าง ออมรอนจะมีโซลูชั่นดีๆอะไรเพื่อมาแก้ปัญหานี้ ออมรอนขอนำเสนอโซลูชั่นการใช้หัวเซนเซอร์ รุ่น E32-T16PR พร้อม E3X-HD ด้วยโซลูชั่นนี้ชนิดของถาดขนมแคร็กเกอร์ก็จะไม่มีผลต่อการตรวจจับเซนเซอร์อีกต่อไปเนื่องจากหัวเซนเซอร์เป็นแบบแถบ –[ การตรวจสอบตะเข็บในกระบวนการผลิตสินค้า ]– กรณีศึกษาที่ 3 : การตรวจสอบตะเข็บในกระบวนการผลิตสินค้า ปัญหา : สำหรับขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของบรรจุภัณฑ์ว่ามีรอยตะเข็บหรือไม่ […]
Continue Reading... Comments Off on สาระพันปัญหาแก้ได้ด้วย..Omron Solution –[ ตอน ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ]สำหรับวงการอุตสาหกรรมอาหารแล้ว หนึ่งในปัญหาที่แทบจะมีกับทุกโรงงานก็คือ การเช็คตำแหน่งการตัดของซองบรรจุภัณฑ์ นั่นเองค่ะ ด้วยเหตุนี้ออมรอนจะมีโซลูชั่นอะไรที่สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้บ้างนะ? ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ… หลังจากเติมซอสลงในบรรจุภัณฑ์แล้ว ผู้ใช้งานต้องคอยตรวจสอบตำแหน่งที่เหมาะสมของบรรจุภัณฑ์ซอสเพื่อทำการตัดซึ่งนั่นก็คือ จุดที่ไม่มีซอส!! จากปัญหาการเช็คตำแหน่งการตัดซองบรรจุภัณฑ์ ออมรอนขอนำเสนอโซลูชั่นการติดตั้งใช้งานอุปกรณ์เซนเซอร์รุ่น E3NX-FA ร่วมกับ E32-T11R และ E39-F1 โดยตั้งค่า Teching ตำแหน่งว่ามีซอสหรือไม่มีซอสเพื่อระบุตำแหน่งที่จะทำการตัดซองบรรจุภัณฑ์
Continue Reading... Comments Off on สาระพันปัญหาแก้ได้ด้วย..Omron Solution –[ ตอนปัญหาการเช็คตำแหน่งตัดซองบรรจุภัณฑ์ ]–ก่อนหน้านี้เราได้เคยนำเสนอบทความ แนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับอุปกรณ์รีเลย์(Relay) ไปแล้วว่าคืออะไร? มีกี่ประเภท? และมีลักษณะการทำงานอย่างไรบ้าง แต่สำหรับวันนี้!! ในบทความนี้!!! เราจะขอพาทุกท่านมาดูต่อว่าถ้าเราจะเลือกซื้อรีเลย์ สิ่งสำคัญที่เราจะต้องรู้เพื่อการเลือกรุ่นรีเลย์ได้ถูกต้อง ตรงกับการใช้งานร่วมกับเครื่องจักรและระบบงานของคุณ คุณจำเป็นต้องรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้ด้วย เริ่มจาก… พิกัดแรงดัน เป็นขนาดของแรงดันไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้แก่ขดลวดเหนี่ยวนำของรีเลย์เพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำหน้าสัมผัส(Contact) ตัวอย่างเช่น 200/220 VAC, 24 VDC ด้วยเหตุนี้เวลาสั่งซื้อรีเลย์ เราจำเป็นจะต้องกำหนดพิกัดแรงดันต่อท้ายจากชื่อรุ่นของรีเลย์ด้วย เช่น MY2-GS 6 VAC (MY2-GS = ชื่อรุ่น, 6 VAC = พิกัดแรงดันขดลวดเหนี่ยวนำ) ชนิดของโหลด ชนิดของโหลดที่จะนำมาใช้กับรีเลย์ เช่น มอเตอร์ AC, โซลีนอยด์ AC, โซลีนอยด์ DC, สวิตซ์แม่เหล็ก DC ฯลฯ พิกัดโหลด เป็นอัตราความทนได้ต่อแรงดันที่กระทำต่อหน้าสัมผัสและกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหน้าสัมผัส เช่น 5 A, 220 VAC หมายถึงหน้าสัมผัสของรีเลย์สามารถทนต่อกระแสไฟได้ 5 A เมื่อหน้าสัมผัสถูกป้อนแรงดัน […]
Continue Reading... Comments Off on สิ่งที่ต้องรู้!! How to…เลือกซื้อรีเลย์ (Relay)