Tag Archives: รีเลย์

  • 7 สิ่งสำคัญต้องรู้ ถ้าคุณกำลังใช้งาน Solid State Relay (SSR)

    Posted on 25/11/2022 by admin in Article.

    อย่างที่หลายๆ ท่านทราบดีว่า อุปกรณ์โซลิดสเตตรีเลย์(Solid-State Relay) หรือที่เราเรียกย่อๆว่า SSR นั้นจะถูกนำมาใช้งานในลักษณะคล้ายกับอุปกรณ์รีเลย์(Relay) กล่าวคือ เป็นสวิตซ์ตัวหนึ่งที่มีหน้าที่เปิด-ปิดวงจรต่างกันตรงที่ เราจะนิยมใช้โซลิดสเตตรีเลย์กับงานที่ต้องการความรวดเร็วในการสลับเปิด-ปิดวงจร (Switching) และไม่ต้องการให้มีการเคลื่อนที่ของหน้าสัมผัส(Contact) เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ซึ่งถ้าหากใช้รีเลย์ชนิดหน้าสัมผัสแทน ก็อาจทำให้เกิดการสปาร์ค (Spark) ของกระแสไฟที่หน้าสัมผัสส่งผลให้อายุการใช้งานของรีเลย์สั้นลง การใช้งานโซลิดสเตตรีเลย์หรือ SSR ตามหลักความจริงแล้วควรจะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ฟิวส์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ และใส่ที่วงจรเอาท์พุต(Output) ของ SSR เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร นอกจากนี้การป้องกันการเกิดความเสียหายที่อาจเกิดกับภาคอินพุต(Input) ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน การป้อนปริมาณไฟฟ้าที่ถูกขนาดและถูกขั้วก็นับเป็นการป้องกันการเกิดความเสียหายที่ภาค Input จากรายละเอียดต่างๆ ที่เราควรคำนึงถึงได้แก่…. 1.) Noise Surge ของเอาท์พุต AC อุปกรณ์ SSR จะมีวงจร C/R Snubber มีหน้าที่ลดการกระชาก(Surge) ของแรงดันไฟ แต่ถ้าแรงดัน Surge มีขนาดใหญ่มากๆ วงจร C/R Snubber จะไม่สามารถรองรับได้และแรงดัน Transient หรือแรงดันไฟฟ้าที่สูงชั่วขณะในช่วงเวลาสั้นๆ อาจสูงเกินกว่าที่โซลิดสเตตรีเลย์(SSR) จะรับได้และทำให้อุปกรณ์ […]

    Continue Reading...
    Comments Off on 7 สิ่งสำคัญต้องรู้ ถ้าคุณกำลังใช้งาน Solid State Relay (SSR)
  • สิ่งที่ต้องรู้!! How to…เลือกซื้อรีเลย์ (Relay)

    Posted on 01/09/2022 by admin in Article.

    ก่อนหน้านี้เราได้เคยนำเสนอบทความ แนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับอุปกรณ์รีเลย์(Relay) ไปแล้วว่าคืออะไร? มีกี่ประเภท? และมีลักษณะการทำงานอย่างไรบ้าง แต่สำหรับวันนี้!! ในบทความนี้!!! เราจะขอพาทุกท่านมาดูต่อว่าถ้าเราจะเลือกซื้อรีเลย์ สิ่งสำคัญที่เราจะต้องรู้เพื่อการเลือกรุ่นรีเลย์ได้ถูกต้อง ตรงกับการใช้งานร่วมกับเครื่องจักรและระบบงานของคุณ คุณจำเป็นต้องรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้ด้วย เริ่มจาก… พิกัดแรงดัน เป็นขนาดของแรงดันไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้แก่ขดลวดเหนี่ยวนำของรีเลย์เพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำหน้าสัมผัส(Contact) ตัวอย่างเช่น 200/220 VAC, 24 VDC ด้วยเหตุนี้เวลาสั่งซื้อรีเลย์ เราจำเป็นจะต้องกำหนดพิกัดแรงดันต่อท้ายจากชื่อรุ่นของรีเลย์ด้วย เช่น MY2-GS 6 VAC (MY2-GS = ชื่อรุ่น, 6 VAC = พิกัดแรงดันขดลวดเหนี่ยวนำ) ชนิดของโหลด ชนิดของโหลดที่จะนำมาใช้กับรีเลย์ เช่น มอเตอร์ AC, โซลีนอยด์ AC, โซลีนอยด์ DC, สวิตซ์แม่เหล็ก DC ฯลฯ พิกัดโหลด เป็นอัตราความทนได้ต่อแรงดันที่กระทำต่อหน้าสัมผัสและกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหน้าสัมผัส เช่น 5 A, 220 VAC หมายถึงหน้าสัมผัสของรีเลย์สามารถทนต่อกระแสไฟได้ 5 A เมื่อหน้าสัมผัสถูกป้อนแรงดัน […]

    Continue Reading...
    Comments Off on สิ่งที่ต้องรู้!! How to…เลือกซื้อรีเลย์ (Relay)