• หุ่นยนต์เทรนเนอร์ส่วนตัวตัวแรก!! เปิดตัวโดย Kuka

    บริษัท Kuka เปิดตัวหุ่นยนต์เทรนเนอร์ที่สามารถจัดการการฝึกส่วนตัวขั้นสูงสำหรับนักกีฬาอีลีท

    ทางบริษัทกล่าวว่าคนทั่วไปหรือแม้แต่คนผที่ไม่ใช่นักกีฬาระดับแนวหน้าก็สามารถใช้ระบบที่ดูแพงตัวนี้ได้เช่นกัน เราเรียกระบบนี้ว่า ” RoboGym ” และนิยามว่ามันคือ “ ระบบเทรนนิ่งโฉมใหม่ ” ที่ “ ไม่ใช่เพียงเพื่อนักกีฬาเท่านั้น ”

    Kuka ได้เตรียมการณ์รับมือมาเนิ่นนานกับคำถามต่าง ๆ เกี่ยวกับหัวข้อการกีฬาและระบบหุ่นยนต์ เช่น เรื่องอนาคตของการเทรนจะเป็นอย่างไร ? หุ่นยนต์จะใช้ในการเทรนกล้ามเนื้อเพื่อพัฒนาต่อไปสู่อีกขั้นได้ไหม ? มีการยอมรับเทคโนโลยีในระดับประชากรทั่วไปและในบรรดานักกีฬามากน้อยเพียงใด ? ฯลฯ

    ปลายปี 2557 BEC ผู้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนบริษัทในเรื่องระบบมาอย่างยาวนาน ก็สนใจร่วมโปรเจคนี้ด้วย และต่อมาในช่วงต้นปี 2558 ได้นำเสนอต้นแบบตัวแรกของ “RoboGym” และในปี 2560 ได้เกิดโครงการวิจัย RoSylerNT ที่เป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัย RWTH Aachen และมหาวิทยาลัย German Sport University Cologne โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยจากรัฐบาลกลางเยอรมัน หุ่นยนต์ RoboGym พร้อมที่จะออกสู่ตลาดเร็ว ๆ นี้

    RoboGym ก็แสดงถึงความก้าวหน้าที่มากกว่าในหลาย ๆ ด้านเมื่อเทียบรูปแบบการฝึกฝนทั่วไป สิ่งต่าง ๆ ที่ได้เคยวางแผนไว้ให้สำหรับนักกีฬาชั้นนำโดยเฉพาะ จะพลิกโฉมวิธีการเทรนนิ่งในอนาคตอย่างแน่นอน

    เดิมทีอุปกรณ์ฝึกฝนกล้ามเนื้อทั่วไปจะใช้เพียงโหลดเชิงเส้นกับน้ำหนักคงที่ แต่สำหรับ RoboGym ที่ใช้หุ่นยนต์ “KR 160 nano” วิเคราะห์รูปทรงการเคลื่อนไหวใหม่ทั้งหมดพร้อมๆกับการสืบหากลุ่มกล้ามเนื้อที่สามารถฝึกเพิ่มได้ โดยอาศัยข้อมูลแบบจำลองโครงกระดูกทางชีวกลศาสตร์ในฐานข้อมูล

    มีรายงานจากผู้ทดลองว่าสามารถรับรู้ได้ถึงการพัฒนาสมรรถนะที่ปลอดภัยอย่างมาก โดยยืนยันจากระบบเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้เพื่อวัดแรงและคุณสมบัติป้องกันความปลอดภัยในตัว (เช่น พื้นที่ปลอดภัยและการตรวจสอบความเร็ว) ตัวอย่างเช่น กรณีหลังจากที่เอ็นไขว้ฉีกขาดหุ่นยนต์จะควบคุมน้ำหนักที่รับได้มากที่สุดอีกทั้งขอบเขตการเคลื่อนไหวอวัยวะแต่ละส่วนเพื่อเลี่ยงการบาดเจ็บ ดังนั้นนักกีฬาจะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติได้เร็วขึ้น

    ปัจจุบัน RoboGym สามารถจัดการเทรนได้ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ การฝึกกล้ามเนื้อต้นขา (Leg press), การเหยียดข้อเข่า (Knee extension) และการออกกำลังช่วงส่วนบนของร่างกายแบบกรรเชียงบก (rowing exercise) ซึ่งข้อมูลจะแสดงขึ้นบนหน้าจอแบบเรียลไทม์และถูกบันทึกลงใน Cloud เมื่อเปิดใช้อุปกรณ์ ผู้ใช้งานจึงสามารถนำข้อมูลน้ำไปใช้จากที่ใดก็ได้บนโลก โดยอุปกรณ์เครื่องอื่น ๆ ก็จะปรับให้เข้ากับส่วนสูงและน้ำหนักฝึกได้

    เมื่อมีข้อมูลรองรับ ผู้ใช้งานก็จะสามารถประเมินแรงที่ต้องใช้ได้แม่นยำยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวขณะออกกำลังในแต่ละส่วนก็จะมองเห็นได้แม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเทรนนิ่งหรือการฝึกฝนร่างกายสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล

    คุณ Martin Gerlich ผู้บริหารสูงสุดด้านการเงินของ BEC กล่าวว่า…

    “ความใฝ่ฝันของเราคือ การที่ RoboGym กลายเป็นมาตรฐานของการกีฬามืออาชีพและการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งได้เห็น RoboGym ในทุกสถานที่ฝึกโอลิมปิก”