ในบทความที่แล้ว -[Part 1]- เราได้กล่าวถึงประโยชน์และข้อดีของ Panel Solution กันไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง สำหรับบทความนี้เราก็จะยังคงอยู่กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกลุ่ม Panel Solution กันต่อนะครับแต่จะมาพูดถึงในส่วนของ รีเลย์ และ ไทม์เมอร์ ซึ่งหากท่านใดที่ยังไม่เคยได้อ่านบทความตอนที่แล้ว สามารถตามไปอ่านกันได้ที่ลิงก์.. https://bit.ly/3D6rRGj ..นี้ได้เลยนะครับ
>>> P2RF-PU : Push-in Socket <<<
หากพูดถึงตู้คอนโทรล อุปกรณ์ในภายตู้อย่างแรก ๆ ที่แทบจะพบเจอได้เกือบทุกตู้ก็คงหนีไม่พ้นรีเลย์ หลายท่านอาจเคยมีโอกาสได้ใช้รีเลย์รูปร่างเล็กบางไซส์มินิอย่างรุ่น G2R มาก่อน นับเป็นรีเลย์ที่ค่อนข้างบางและตอบโจทย์เรื่องการประหยัดพื้นที่ ซึ่งเป็นจุดเด่นของรีเลย์รุ่นนี้เลยเมื่อเทียบกับรีเลย์ทั่วๆไป อย่างรุ่น MY อีกทั้งยังมีจุดแสดงสถานะการทำงานของรีเลย์แบบ Mechanical ให้คุณสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายด้วย นอกเหนือจาก Socket แบบปกติทั่วไปของรีเลย์รุ่นนี้แล้ว ยังมี Socket แบบ Push-in รุ่น P2RF-PU ที่คุณสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ช่วยให้การเข้าสายภายในตู้ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้นครับ
>>> PYF-PU : Push-in Socket <<<
เมื่อมีรีเลย์สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้และเป็นของที่ใช้คู่กันก็คือ Socket นั่นเอง และสำหรับรีเลย์รุ่นยอดนิยมอย่าง MY ที่มีผลตอบรับการใช้งานอย่างแพร่หลาย และพบเห็นได้ตามตู้คอนโทรลไฟฟ้าทั่วไป ในปัจจุบันทางผู้ผลิตเองก็ได้ออกแบบ แ ทางเลือกแบบ Push-in Socket ให้ท่านทั้งหลายได้เลือกใช้ด้วยเช่นกัน
>>> G2RV-SR : Slim I/O Relays <<<
รีเลย์ชนิดต่อมาที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ Slim I/O Relays รุ่น G2RV-SR ครับ ด้วยความกว้างเพียง 6.2 มิลลิเมตร พร้อมกับรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ด้วยเพราะตัวรีเลย์เป็นแบบใสสามารถมองเห็นภายในได้ชัดเจน จึงนับได้ว่าเป็นรีเลย์ชนิดที่บางมากและใช้พื้นที่ภายในตู้คอนโทรลได้อย่างคุ้มค่าที่สุด Socket เองก็รองรับได้ทั้งแบบขันน็อตและแบบ Push-in โดยสินค้าตัวนี้จะถูกจำหน่ายแบบเป็นชุด (รีเลย์พร้อมกับซ็อกเก็ต) แต่ก็สามารถจะสั่งซื้อเฉพาะตัวรีเลย์เพื่อมาเปลี่ยนสำหรับการซ่อมบำรุงได้นะครับ
>>> G3RV-SR : Slim I/O Relays <<<
นอกจากรีเลย์รุ่นบางพิเศษอย่าง G2RV-SR ที่ได้พูดไปแล้วก่อนหน้านี้ บริษัท OMRON ก็ยังมีจำหน่ายอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ที่เป็น Solid State Relay รุ่น G3RV-SR ด้วยเช่นกันครับ ความแตกต่างระหว่าง Solid State Relay และ Slim Relay ที่สามารถแยกแยะออกได้ชัดเจนก็คือ สีของตัวอุปกรณ์โดย Solid State Relay จะมีลักษณะเป็นสีดำทึบต่างจาก Slim I/O Relay ที่มีลักษณะโปร่งใสมองเห็นถึงวงจรด้านในได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงคอนเซ็ปในเรื่องของความเรียวบาง เพื่อเอื้อต่อการใช้พื้นที่ได้อย่างเหมาะสมครับ
>>> H3Y-B : Solid-state Timer <<<
อุปกรณ์ขนาดเล็กชนิดต่อมาผมขอพูดถึง Timer กันบ้างโดย Timer ที่มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับขนาดของรีเลย์รุ่น MY ซึ่งก็ได้แก่รุ่น H3Y ด้วยเพราะขนาดที่ใกล้เคียงกันนั้น เราจึงใช้สินค้ารุ่นนี้เป็น Timer ที่สามารถเสียบลงไปใน Socket รีเลย์รุ่น MY ได้พอดี และแน่นอนว่ามี Timer รุ่นเล็กแล้ว ก็จะต้องมีรุ่นเล็กเพรียวบางด้วยอีกเช่นกันในรุ่น H3Y-B Timer รุ่น H3Y-B นี้เป็นอุปกรณ์ Timer ที่ถูกออกแบบขึ้นใหม่โดยที่ตัวอุปกรณ์จะเป็นสีดำ มีปุ่มปรับเวลาโปร่งแสงขนาดใหญ่ซึ่งเราสามารถใช้ไขควงปรับตั้งเวลาได้ ความแตกต่างที่มากกว่ารุ่นเดิม(H3Y)จะเป็นเรื่องของการต่อสาย Coil ของ Timer ที่จะต่อเข้าทางด้านบน มีส่วนของเอาท์พุตอยู่ด้านล่าง และใช้งานร่วมกับ Socket รุ่น PYF-PU-L ซึ่งเป็นแบบ Push-in ได้อีกเช่นกัน
>>> H3RN-B : Solid-state Timer <<<
ไปกันต่อกับ Timer รุ่นต่อมาที่ผมขอแนะนำให้รู้จักในบทความนี้ คือรุ่น H3RN-B ซึ่งเป็น อุปกรณ์ Timer ที่ออกแบบมาได้บางมากๆ ถึงขั้นที่เรียกว่า “Ultra-slim Timer” ด้วยขนาดความกว้างรวม Socket แล้วมีขนาดเพียงแค่ 15.5 มิลลิเมตรเท่านั้น ลักษณะตัวอุปกรณ์จะเป็น Timer ขนาดเล็กสีดำ ใช้งานคู่กับ Socket แบบ Push-in มีฟังก์ชันการทำงานที่ค่อนข้างครอบคลุมโดย เราสามารถเลือกใช้โหมดการทำงานถึง 4 โหมดจากการตั้งค่า Dip switch ได้แก่ On-delay, Interval, Flicker (OFF/ON Start) และทำการตั้งเวลาโดยการใช้มือปรับเลื่อนฟันเฟือง (ขึ้น-ลง) ครับ
>>> H3DT : Solid-state Timer <<<
Timer รุ่นสุดท้ายที่จะแนะนำในบทความนี้คือรุ่น H3DT ครับ โดยสำหรับอุปกรณ์รุ่นนี้จะมีรุ่นย่อยๆ ออกมาจำหน่ายตามประเภทการใช้งานถึง 5 แบบด้วยกัน คือ Multi-functional, Power ON-delay, Twin Timer, Star-Delta Timer และ Power OFF-delay Timer H3DT จะมีลักษณะเป็น Timer สีดำ ขนาดกะทัดรัดที่กว้างเพียง 17.5mm ใช้สำหรับการติดตั้งบนราง DIN พร้อมด้วยเทอร์มินอลแบบ Push-in อีกทั้งยังใช้พลังงานน้อยลงเมื่อเทียบกับรุ่นทั่วไปอีกด้วยครับ
>>> สรุปรุ่น Timer “H3DT” <<<