• ก็เบรกเกอร์เหมือนกันหนิ…ไม่ใช่หรอ???

    หากกล่าวถึงอุปกรณ์เบรกเกอร์ (Breaker) แน่นอนว่าหลายๆท่านอาจจะพอทราบคร่าวๆแล้วว่าอุปกรณ์ชนิดนี้นั้นมีหลักการทำงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการตัดไฟ เพื่อหยุดการไหลผ่านของกระแสไฟ แต่จะมีสักกี่คนเข้าใจรายละเอียดเนื้อหาที่แท้จริง ว่าเบรกเกอร์แต่ละชนิดนั้นก็ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน

    เพื่อทำให้ทุกท่านสามารถทำความรู้จักกับอุปกรณ์ไฟฟ้านี้ได้ง่ายๆ เราขอนำเสนอชนิดของเบรกเกอร์แบบต่างๆที่เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปออกเป็น 4 ชนิด ดังต่อไปนี้….

    1.) Circuit Protector [CP] หรือ เบรกเกอร์ป้องกันวงจรควบคุม มักถูกนำไปใช้เพื่อการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีกระแสไฟเกินพิกัดกับอุปกรณ์คอนโทรลที่มีราคาสูง เช่น PLC เป็นต้น เราสามารถพบเห็นเบรกเกอร์ชนิดนี้ได้ในโรงงาน หรือในงานอุตสาหกรรมต่างๆ

    2.) Molded Case Circuit Breaker [MCCB] หรือ สวิตซ์ตัด-ต่อวงจรอัตโนมัติ นิยมนำมาใช้ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบหรือไลน์ผลิตจากกรณีไฟฟ้าลัดวงจร โดยอาจส่งผลกระทบกับกระบวนการทำงานของเครื่องจักรได้ จุดเด่นของ MCCB เบรกเกอร์นี้คือ หลังจากที่เบรกเกอร์ตัดวงจรไฟแล้ว เราสามารถต่อวงจรให้ทำงานได้เป็นปกติเพียงรีเซ็ตเบรกเกอร์ (เลื่อนคันโยกไป Off แล้วจึงเลื่อนกลับมาที่ On) นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานเสมือนสวิตซ์ไฟในการเปิด-ปิดวงจรได้อีกด้วย

    3.) Earth Leakage Circuit Breaker [ELCB] คือ เบรกเกอร์ตัด-ต่ออัตโนมัติเพื่อการป้องกันไฟรั่ว หรือที่หลายๆคนรู้จักกันชื่อ “เบรกเกอร์กันไฟดูด” เบรกเกอร์ชนิดนี้จะทำการตัดไฟอัตโนมัติเองเมื่อมีตรวจจับได้ว่ามีกระแสไฟรั่วไหลลงดินเกินกว่าค่าที่กำหนด หรือแม้ในบ้านของเรา เบรกเกอร์ชนิดนิยมนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องทำงานร่วมกับน้ำ เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องปั๊มน้ำ เป็นต้น

    4.) Miniature Circuit Breaker [MCB] หรืออีกชื่อคือ..เบรกเกอร์ลูกย่อย เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในการตัดวงจรแบบเธอร์มอล(Thermal) และแบบแมคเนติก(Magnetic) ซึ่งสามารถพบเห็นเบรกเกอร์ชนิดนี้ได้ในตู้คอนซูเมอร์ยูนิต(ตู้ไฟบ้าน) โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการตัด-ต่อการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น สวิตซ์ไฟ ปลั๊ก และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ