อย่างที่หลายๆ ท่านทราบดีว่า อุปกรณ์โซลิดสเตตรีเลย์(Solid-State Relay) หรือที่เราเรียกย่อๆว่า SSR นั้นจะถูกนำมาใช้งานในลักษณะคล้ายกับอุปกรณ์รีเลย์(Relay) กล่าวคือ เป็นสวิตซ์ตัวหนึ่งที่มีหน้าที่เปิด-ปิดวงจรต่างกันตรงที่ เราจะนิยมใช้โซลิดสเตตรีเลย์กับงานที่ต้องการความรวดเร็วในการสลับเปิด-ปิดวงจร (Switching) และไม่ต้องการให้มีการเคลื่อนที่ของหน้าสัมผัส(Contact) เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ซึ่งถ้าหากใช้รีเลย์ชนิดหน้าสัมผัสแทน ก็อาจทำให้เกิดการสปาร์ค (Spark) ของกระแสไฟที่หน้าสัมผัสส่งผลให้อายุการใช้งานของรีเลย์สั้นลง การใช้งานโซลิดสเตตรีเลย์หรือ SSR ตามหลักความจริงแล้วควรจะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ฟิวส์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ และใส่ที่วงจรเอาท์พุต(Output) ของ SSR เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร นอกจากนี้การป้องกันการเกิดความเสียหายที่อาจเกิดกับภาคอินพุต(Input) ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน การป้อนปริมาณไฟฟ้าที่ถูกขนาดและถูกขั้วก็นับเป็นการป้องกันการเกิดความเสียหายที่ภาค Input จากรายละเอียดต่างๆ ที่เราควรคำนึงถึงได้แก่…. 1.) Noise Surge ของเอาท์พุต AC อุปกรณ์ SSR จะมีวงจร C/R Snubber มีหน้าที่ลดการกระชาก(Surge) ของแรงดันไฟ แต่ถ้าแรงดัน Surge มีขนาดใหญ่มากๆ วงจร C/R Snubber จะไม่สามารถรองรับได้และแรงดัน Transient หรือแรงดันไฟฟ้าที่สูงชั่วขณะในช่วงเวลาสั้นๆ อาจสูงเกินกว่าที่โซลิดสเตตรีเลย์(SSR) จะรับได้และทำให้อุปกรณ์ […]
Continue Reading... Comments Off on 7 สิ่งสำคัญต้องรู้ ถ้าคุณกำลังใช้งาน Solid State Relay (SSR)