• เคยสงสัยกันไหมว่า…”AGV” กับ “AMR” ต่างกันอย่างไร??

    การทำให้ห่วงโซ่อุปทานภายในการผลิตหรือ logistic flows เป็นไปอย่างอัตโนมัตินั้นเป็นความท้าทายของทั้งบริษัทเล็กและบริษัทใหญ่อยู่เสมอ ด้วยระบบที่นับวันก็ยิ่งซับซ้อนขึ้นทำให้บริษัทต่าง ๆ เริ่มมองหาการแทนที่แรงงานและการจัดการขนถ่ายสินค้าโดยยกให้เป็นหน้าที่ของหุ่นยนต์แทน

    ระบบอัตโนมัติ 2 ระบบดังต่อไปนี้เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าต่างนึกถึงสำหรับการขนย้ายกองพาเลทสินค้า นั่นก็คือ รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (AGV) และ หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR)

    แม้ว่าจะใช้ AGV กันมามานานแล้วแต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ได้รับการพัฒนาในด้านการทำงานและเทคโนโลยีในตัวขึ้นมาอย่างมาก ส่วน AMR นั้นก็กำลังได้รับความนิยมตามมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

    แล้ว AGV ต่างจาก AMR อย่างไร ?? “

    ด้านความสามารถการจัดการกับโหลด

    AGV และ AMR นั้นจะแตกต่างกันในแง่ของความจุและประเภทของการขนถ่ายโหลดที่นำไปใช้งาน AGV สามารถใช้ในการจัดการกับโหลดพาเลททั้งการใช้งานแนวนอนและแนวตั้ง ขณะที่ AMR ใช้ได้เฉพาะกับการเคลื่อนย้ายในระดับพื้นเท่านั้น

    แม้ว่า AMR จะมีความยืดหยุ่นและลื่นไหลได้ดีกว่า แต่หากจะต้องจัดเก็บหรือดึงพาเลทกลับจากชั้นวางสูง ๆ ก็ยังมีประสิทธิภาพไม่ได้เต็มที่ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดเรื่องน้ำหนักสูงสุดของโหลดอีกด้วย

    โดยทั่วไปแล้ว AMR สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกับโหลดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 200 กิโลกรัม ส่วนการเคลื่อนย้ายโหลดที่มีน้ำหนัก 200 กิโลกรัมขึ้นไป AGV ดูจะเป็นทางออกที่ดีและปลอดภัยกว่าเพราะสามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 2000 กิโลกรัม

    Dual-Mode หรือโหมดการใช้งานสองแบบ

    อีกความแตกต่างหนึ่งที่สำคัญระหว่าง AGV และ AMR ก็คือ “การควบคุม” เหล่าซัพพลายเออร์ของ AGV รุ่นใหม่ในปัจจุบันสามารถทำให้ AGV มีตัวเลือกแบบ Dual-Mode ซึ่งทำให้คุณสามารถควบคุมหุ่นยนต์และขับเคลื่อนมันได้ด้วยตนเองเมื่อไหร่ก็ได้ตามต้องการ จากนั้นจะสลับกลับมาเป็นโหมดอัตโนมัติก็ทำได้เช่นกัน แต่สำหรับ AMR นั้นสามารถควบคุมได้เพียงการเคลื่อนย้ายเท่านั้นในแบบระบบอัตโนมัติ หรือไม่ก็จะเป็นการกระทำ “ตามมนุษย์” สั่ง ดังนั้นการกำหนดงานจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นนี้ด้วย

    ข้อกำหนดโครงสร้างพื้นฐาน

    หลายความต้องการของ AMR เกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่ามันไม่จำเป็นต้องติดตั้งหรือมีข้อกำหนดเบื้องต้น ด้วยเทคโนโลยีการนำทางขั้นสูง ก็จะตั้งค่าการทำงานได้ง่ายและโดยทั่วไปแล้วก็สามารถเคลื่อนย้ายตามเส้นทางได้อย่างอิสระ แต่ถึงอย่างไรนั้น AGV รุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันก็ได้ถูกพัฒนาเพื่อรับเอาเทคโนโลยีระบบหุ่นยนต์เช่นนี้มาใช้ด้วยเหมือนกัน

    AGV ในปัจจุบันนี้ใช้ระบบการนำทางขั้นสูง (เช่น SLAM) ที่ใช้ตำแหน่งแบบเรียลไทม์กับแผนที่ที่ถูกสร้างขึ้นในระบบ ขจัดความจำเป็นสำหรับความต้องการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และยังเข้ากับความสะดวกในการติดตั้ง AMR ได้อีกด้วย

    ขณะที่ต้องกำหนดเส้นทางเฉพาะสำหรับการหยิบ-วาง AGV ในปัจจุบันสามารถคำนวณเส้นทางที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและปริมาณของงาน

    ความยืดหยุ่น

    อีกประเด็นสำคัญในการพิจารณาก็คือความยืดหยุ่นของทั้ง 2 ระบบ ในระดับพื้น ทั้ง AGV และ AMR  สามารถให้ความยืดหยุ่นในการกำหนดการทำงานได้เป็นอย่างดี

    อย่างไรก็ตาม AMR นั้นมักจะทำงานได้ดีเยี่ยมเมื่อมี SKU ขนาดใหญ่ เพราะ AMR ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ลดเวลาเดินทางและช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถมุ่งความสนใจไปที่งานอื่นได้ จึงต้องอาศัยจำนวนของ SKU ที่สูงขึ้นเพื่อให้ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจน

    ข้อสรุป

    AGV นั้นมีมาก่อนและได้พัฒนาประสิทธิภาพสั่งสมต่อมาหลายปี ส่วน AMR ก็ติดตั้งได้ง่ายกว่า สะดวกรวดเร็วและดีกว่าในกรณีสำหรับโหลดน้ำหนักเบา AGV จะคงทนแข็งแรงกว่าสามารถรองรับการขนย้ายโหลดในที่สูงและมีน้ำหนักมากกว่าได้

    ทั้ง 2 โซลูชั่นนี้มีความแตกต่างกันแต่สามารถใช้งานในเป้าหมายเดียวกันได้ นั่นก็คือการทำให้กระบวนการเคลื่อนย้ายในคลังสินค้าเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เพียงแค่ต้องระมัดระวังเรื่องการกำหนดงานเพื่อที่จะเลือกโซลูชั่นได้เหมาะสมกับงาน หรือหากลักษณะการทำงานนั้นมีหลากหลายมากกว่า AGV ก็คงจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ