• ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเพื่อการผ่าตัดในศตวรรษที่ 21

    ศัลยแพทย์ผู้มีความสามารถทุกคนย่อมต้องการชุดเครื่องมือเพื่อให้การผ่าตัดให้ประสบความสำเร็จ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าช่วยให้ศัลยแพทย์ทำหัตถการทั้งเล็กและใหญ่ได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแม่นยำ คุณภาพและประสิทธิภาพขณะทำการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนได้

    ไม่เพียงแต่ศัลยแพทย์เท่านั้น ห้องผ่าตัดก็กำลังเปลี่ยนไปเช่นกัน ดังตัวอย่างจาก คุณสามารถหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ที่นี่ ที่ซึ่งศัลยแพทย์ในปัจจุบันใช้กันแต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมด เราจะเห็นได้ว่าตามมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลต่าง ๆ นั้นต่างก็ใช้อุปกรณ์ทันสมัยรุ่นล่าสุดเพื่อฝึกฝนและพัฒนาเทคนิค

    ทางด้านผู้ป่วยเองก็เห็นด้วยว่าการปรับปรุงและการพัฒนานี้เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี สำหรับพวกเขาแล้วนวัตกรรมทางเทคโนโลยีนั้นหมายถึงคุณภาพที่ดีขึ้นและการฟื้นตัวที่เร็วขึ้นด้วย เป็นสาเหตุให้ในบทความนี้จึงจะกล่าวถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้และการทำงานทางการแพทย์ในศตวรรษที่ 21 นี้ ได้แก่…

    I. Medical virtual reality (VR)

    อ้างอิงภาพ : Could AR and VR transform surgery forever?

    ชุดซอฟต์แวร์จำลองฝึกซ้อมการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนกับผู้ป่วยเสมือนจริง ที่ช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดผู้ป่วยได้แบบเสมือนจริง และยังสามารถทำการบันทึกวีดีโอการผ่าตัดเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อในภายหลังได้ ผลลัพธ์ที่ได้นอกเหนือจากนี้คือการบ่มเพาะความทักษะการตัดสินใจของศัลยแพทย์ที่จะแม่นยำขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับเคสวิกฤต

    การวางแผนก่อนการผ่าตัดด้วยระบบ VR ช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถลงมือผ่าตัดได้ทุกรูปแบบโดยปราศจากความเสี่ยงอันตรายต่อผู้ป่วย นอกจากนี้ศัลยแพทย์ยังได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดหรือปรับปรุงเทคนิคของตนเอง และอาจนำทักษะความรู้ใหม่ ๆ ไปปรับใช้ในผู้ป่วยจริงได้ หรือในอีกทางหนึ่ง ระบบ VR ก็สามารถเป็นตัวช่วยให้กับศัลยแพทย์ฝึกหัดหรือแพทย์มือใหม่เพื่อฝึกซ้อมเทคนิคก่อนจะได้รับอนุญาตให้ทำการผ่าตัดจริงได้อีกด้วย

    II. การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์

    หุ่นยนต์มีหลากหลายประเภท รวมไปถึงหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ช่วยศัลยแพทย์ระหว่างทำการผ่าตัดที่มีความละเอียดและซับซ้อน โดยจุดประสงค์หลักของการใช้หุ่นยนต์ก็คือการลดข้อผิดพลาดและเพิ่มความแม่นยำระหว่างการผ่าตัด

    การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ เป็นแนวทางเพื่อให้ศัลยแพทย์ได้จำลองการผ่าตัดและได้หาวิธีรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤต นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้จากประสบการณ์และนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดไปใช้ในสถานการณ์จริงอีกด้วย

    การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์เกิดขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2540 และหลังจากนั้นระบบนี้ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ในปัจจุบัน หุ่นยนต์สามารถเป็นผู้ช่วยดูแลงานต่าง ๆ ในทุกขั้นตอนการผ่าตัด รวมไปถึงการนำทางอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ การจับเนื้อเยื่อ และ การถ่ายภาพ เป็นต้น หุ่นยนต์สามารถช่วยศัลยแพทย์ให้ทำการผ่าตัดจากต่างที่ได้เลยแม้ไม่ต้องก้าวออกจากออฟฟิศ เพราะในขณะที่ศัลยแพทย์ควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยจากอีกฟากของโลก ผู้ป่วยก็จะได้รับการผ่าตัดจากศัลยแพทย์ท้องถิ่นที่มากด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์

    III. โดรนทางการแพทย์

    อ้างอิงภาพ : UAV aerial drone delivery

    โดรนเป็นยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับที่ใช้เพื่อการเฝ้าระวัง การตรวจสอบ การสำรวจทางไกลและเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถปรับใช้ในทางการแพทย์ได้อีกด้วย นั่นเป็นสาเหตุว่าชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน(FR) และโรงพยาบาลจึงนิยมใช้โดรนบ่อยครั้ง

    โดรนที่ใช้ทางการผ่าตัดนี้จะใช้เพื่อถ่ายภาพทางการแพทย์ การขนส่งอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นไปให้ถึงที่ทำการผ่าตัดจากโรงพยาบาลหนึ่งไปยังอีกโรงพยาบาล

    ในด้านการดูแลสุขภาพ โดรนยังสามารถถูกใช้เป็นเครื่องเอ็กซ์เรย์บินได้เพื่อส่งภาพหัวใจหรืออวัยวะของผู้ป่วย และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วนแต่ไม่สามารถไปโรงพยาบาลเองได้

    นอกจากนี้ เรายังสามารถนำโดรนไปใช้ในเรื่องของการส่งเวชภัณฑ์และอวัยวะปลูกถ่ายไปยังพื้นที่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยได้อีกด้วย

    IV. AI ทางการแพทย์

    อ้างอิงภาพ : The magic of telemedicine

    ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไม่ใช่เรื่องใหม่ในทางเทคโนโลยีการแพทย์ อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้นักวิจัยที่ MIT ได้พัฒนาอัลกอริทึมที่ใช้ AI ในการวินิจฉัยมะเร็งได้เร็วกว่าผู้เชี่ยวชาญ

    อัลกอริทึมนี้ใช้ต้นแบบทางคณิตศาสตร์ด้าน “การจำลองและ Deep Learning” เพื่อพัฒนาการคาดการณ์ที่แม่นยำของอาการของมะเร็งเต้านม จนในปัจจุบันนี้ AI สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้แม่นยำกว่าแพทย์แล้ว ด้วยค่าความคลาดเคลื่อนเพียงแค่ 11%

    นับเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของการใช้งาน AI ในการดูแลสุขภาพ การใช้เครื่องกลวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำจากข้อมูลนับล้านซึ่งมนุษย์อย่างเราอาจจะต้องใช้เวลาวิเคราะห์อยู่หลายปี

    นอกจากการใช้เครื่องมือวินิจฉัยด้วย AI แล้ว นักวิจัยยังได้พัฒนาหุ่นยนต์ AI ที่ใช้อัลกอริทึม Deep Learning ในการระบุตำแหน่งเซลล์มะเร็งจากภาพถ่าย โดยไม่รู้มาก่อนว่านั่นคือเนื้อเยื่อที่กำลังก่อตัวเป็นมะเร็ง

    ความก้าวหน้านี้อาจนำไปสู่การสร้างหุ่นยนต์ AI ที่มองหาความผิดปกติในภาพถ่ายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวินิจฉัยโดยรวมเมื่อต้องรับมือกับโรคมะเร็ง

    –[ บทสรุป ]–

    เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่าการดูแลสุขภาพในปัจจุบันนี้จะเป็นอย่างไรหากไม่มีการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมา

    การแพทย์เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่รวมเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นปัจจัยในการเพิ่มทวีคูณทางประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือให้มีมากยิ่งขึ้น

    นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ 20 ปีที่ผ่านมานี้ อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพนั้นได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นมาอย่างมาก และเมื่อเรารวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน (AI ปัญญาประดิษฐ์, VR, หุ่นยนต์ และโดรน) การพัฒนาทั้งหมดนี้จึงมีไว้เพื่อจุดประสงค์เดียวนั่นคือการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดูแลสุขภาพ ดังนั้นเราสามารถมั่นใจได้เลยว่าเทรนด์นี้จะยังคงไม่หยุดลงเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน