• การผลิตและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ‘เกิดปัญหารุนแรง’ จากการระบาด Covid-19 ครั้งใหญ่

    การผลิตและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกเกิดความขัดข้องอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด 19 ที่มีอยู่ทั่วโลก ทำให้บริษัทต่างๆต้องปรับตัวและวางแผนสำหรับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่

    รายงานสถานการณ์การผลิตประจำปี 2564 จากผู้ให้บริการการผลิตทางดิจิทัลอย่าง Fictiv เผยถึงอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวแล้วอย่างรวดเร็วด้วยการลงทุนเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ที่มุ่งพัฒนาเรื่องความเร็ว ความยืดหยุ่นและความยั่งยืน

    แม้ว่ายังคงมีความกังวลอยู่บ้าง แต่ผู้ผลิตส่วนใหญ่พบว่าบทเรียนต่าง ๆ จากการระบาดครั้งนี้ได้ปูทางไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีประเด็นสำคัญดังนี้

    • ผู้นำในอุตสากรรมเชื่อว่าขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเร่งการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยกว่า 95% กล่าวว่าการระบาดครั้งนี้มีผลระยะยาวต่อกิจการของพวกเขา และเห็นด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตของบริษัท
    • การระบาดครั้งนี้ทำให้เกิดจุดอ่อนจุดใหญ่ในห่วงโซ่อุปทาน 94% ของผู้ตอบแบบสำรวจเกิดความกังวลเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานของตนในขณะนี้ และมีอีก 92% ที่คิดว่าห่วงโซ่อุปทานของตนนั้นเป็นอุปสรรคต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่
    • เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงหลังการระบาดของ Covid-19 ครั้งใหญ่นี้ หลายบริษัทต่างก็มองหาบทพิสูจน์การผลิตของตนในอนาคต กว่า 62% มีความเห็นเรื่องการหวนคืนกลับมาผลิตในประเทศ (Re-shoring), 89% ยืนกรานว่าการผลิตแบบยั่งยืนนั้นจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้น และอีก 84% เห็นว่าควรใช้แผนการผลิตตามความต้องการ (on-demand) มาเป็นทางออก

    CEO ของ Fictiv, Dave Evans กล่าวว่า…“ ประเด็นที่สำคัญเหนือสิ่งใดจากรายงานของปีนี้คือการระบาดครั้งนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เปลี่ยนแนวคิดทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่จนกลายเป็นกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ผลิกโฉมห่วงโซ่อุปทานไปแล้วอย่างถาวรในขณะนี้ ”

    “ หลายบริษัทต่างก้าวไปอย่างรวดเร็วเพื่อแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ก็ตระหนักดีว่าขีดจำกัดของห่วงโซ่อุปทานของตนในขณะนี้จำเป็นที่จะต้องลงทุนและมีใช้นวัตกรรมในระยะยาว ”

    “ ผู้นำในอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดต่างเห็นพ้องต้องกันเรื่องความคาดหวังในอนาคต ว่าการลงทุนทางดิจิทัลจะช่วยให้พวกเขาสร้างห่วงโซ่อุปทานได้อย่างรวดเร็ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยืดหยุ่นมากขึ้น ”

    รายงานประจำปีของอุตสาหกรรมการผลิตครั้งที่หก จัดทำโดย Dimensional Research ได้ทำการสำรวจผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านการผลิตและห่วงโซ่อุปทานอาวุโสหลายร้อยท่านในบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ หุ่นยนต์ ยานยนต์ อวกาศและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคซึ่งมีหลายประเด็น ได้แก่

    Right-shoring VS Re-shoring (ลงทุนผลิตในประเทศที่ใช่หรือกลับมาผลิตในประเทศ)

    [ Re-shoring ]

    • ในบรรดาอุตสาหกรรมที่มีแผนจะหวนกลับมาผลิตในประเทศในปี 2564 นั้น 80% ของบริษัทอุปกรณ์ทางการแพทย์รายงานว่านี่เป็นกลยุทธ์หลัก ตามมาด้วยอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ที่ 67% อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ 61% และสุดท้าย 45% กับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค
    • มีจำนวน 55% กล่าวว่าการอบรมพนักงานเป็นอุปสรรคอันดับหนึ่งในการเพิ่มปริมาณการผลิตในสหรัฐฯ ตามมาด้วยต้นทุน(43%) กำลังการผลิตไม่เพียงพอ(36%) และการขาดแคลนการเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นเมื่อเทียบกับซัพพลายเออร์ทั่วโลก(31 %)

    [ Right-shoring ]

    • มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจที่กล่าวว่าไม่พบอุปสรรคใดใดในการผลิตในสหรัฐฯ

    ความกังวลเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานที่อาจไปยับยั้งนวัตกรรม

    • ความเห็นจากภายนอก ผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าการมี feedback loop ที่ช้ากับพาร์ทเนอร์คู่ผลิต รวมไปถึงความยากในการจัดหาตัวเลือกที่รวดเร็วและมีคุณภาพสูงเพื่อผลิตแบบปริมาณน้อยก็เป็นหนึ่งในอุปสรรคอันดับต้น ๆ สำหรับ NPI
    • ความเห็นจากบุคคลภายใน, กว่า 45% กล่าวว่า กระบวนการภายในที่เข้มงวดเกินไปจะจำกัดขีดความสามารถของทีมงานในการคิดค้นนวัตกรรม
    • 97% ของบริษัทต่าง ๆ กล่าวว่าการจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้นกินเวลาของพนักงานไปค่อนข้างมาก
    • 81% เกรงว่าจะเกิดปัญหาด้านคุณภาพในห่วงโซ่อุปทานที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเกินดังเช่นในปีที่ผ่านมา
    • 55% กล่าวว่าห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่ตอนนี้มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทาง IT และอีก 42% กังวลถึงเรื่องความเสี่ยงในการป้องกัน IP

    ความท้าทายด้านแรงงาน

    • 45% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่างบประมาณที่มีจำกัดเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการว่าจ้างผู้มีความสามารถในด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ
    • 44% กล่าวว่าการจ้างผู้มีความสามารถในการผลิตที่ซึ่งเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลนั้นเป็นเรื่องยาก
    • 95% ของบริษัทต่าง ๆ มีความเห็นตรงกันว่าคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผลิตนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นั้นน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก

    พลังของการผลิตแบบออนดีมานด์ (On-demand)

    • 84% ของบริษัทต่าง ๆ ที่ใช้โซลูชั่นออนดีมานด์เต็มรูปแบบกล่าวว่าได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์นี้
    • พบข้อดี 3 อันดับแรกจากตัวเลขการรายงานที่ส่วนใหญ่ลงความเห็นเรื่อง คุณภาพที่ได้รับการพัฒนา (62%), ความโปร่งใส (61%) และความรวดเร็ว (60%)

    นอกจากนี้ Jean Olivieri ผู้ดำรงตำแหน่ง COO ของ Fictiv ได้กล่าวว่า “การระบาดของ Covid-19 นี้ยังได้ส่งผลให้เกิดการทดลองในแนวคิดใหม่ ๆ อีกด้วย”

    “ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่กล่าวว่าความสะดวกสบายจากการทำงานที่บ้าน (Work From Home) มีอิทธิพลต่อทัศนคติเชิงบวกต่อการจัดการการผลิตให้ยืดหยุ่นได้มากขึ้น ซึ่งกว่า 84% ของผู้ใช้แนวทางการผลิตแบบออนดีมานด์มาแล้วในปีที่ผ่านมา เห็นชัดว่าอุตสาหกรรมนี้เริ่มจะพึ่งพาการเป็นเจ้าของพื้นที่ทำงานและการทำกระบวนการทั้งหมดเองน้อยลง ”