• Relay คืออะไร ?

    เคยสงสัยไหมว่า รีเลย์ (Relay) แบบที่ใช้งานกันอยู่ทั่วไป มีหลักการทำงานและโครงสร้างอย่างไรบ้าง…

    หลักการทำงานของ รีเลย์ (Relay)

    เมื่อจ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำ จะเกิดการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้าเกิดเป็นแรงสนามแม่เหล็ก ดึงดูดให้หน้าสัมผัสเคลื่อนจากตำแหน่ง a (Turn off) ไปยังตำแหน่ง b (Turn on) ทำให้วงจรไฟฟ้าด้านเอาท์พุทครบวงจร โหลด(Load)จึงจะเริ่มทำงานได้

    โครงสร้างของ รีเลย์ (Relay)

    ขดลวดเหนี่ยวนำ (Coil)

    1.) ขดลวดเหนี่ยวนำ(Coil) ของรีเลย์ (Relay) แบบธรรมดาสามารถแยกออกได้ 2 แบบ คือ

    • ขดลวดเหนี่ยวนำชนิดที่มีขั้ว (W/Pole) ขดลวดชนิดนี้จะทำงาน เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้าให้ขดลวดเหนี่ยวนำให้ถูกขั้ว
    • ขดลวดเหนี่ยวนำชนิดที่ไม่มีขั้ว (W/O Pole) ขดลวดชนิดนี้จะทำงาน เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้าให้ขดลวดเหนี่ยวนำขั้วใดก็ได้ในกรณีที่ใช้กับไฟกระแสสลับ(AC)

    2.) ขดลวดเหนี่ยวนำ(Coil) ของแลทชิ่งรีเลย์ (Latching relay) จะเป็นขดลวดที่ต้องมีขา Set และขา Reset สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ

    • ชนิด 4 ขั้ว (W/4 Terminals) : มีขดลวดเหนี่ยวนำ 2 ขาโดยแยกเป็นขดลวดขา Set และขดลวดขา Reset
    • ชนิด 3 ขั้ว (W/3 Terminals) : มีขดลวดเหนี่ยวนำ 2 ขาประกอบด้วยขดลวดขา Set และขา Reset  แต่ชนิดนี้จะมีขดลวดขั้วลบของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกัน
    • ขดลวดเหนี่ยวนำ(Coil) ชนิด Single-Winding Latching : ขดลวดขา Set และขา Reset มีขดลวดเหนี่ยวนำตัวเดียวกัน จะอาศัยการสลับขั้วกระแสไฟฟ้าที่จ่ายไปที่ขดลวดเหนี่ยวนำเป็นตัวแยกการทำงานระหว่าง Set กับ Reset

    หน้าสัมผัส (Contact)

    ชนิดหน้าสัมผัส (Contact) ของรีเลย์ (Relay) สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบด้วยกัน คือ…

    1. หน้าสัมผัสเดี่ยว (Gold-Plated Single Contact) เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูงๆ
    2. หน้าสัมผัสคู่ (Gold-Plated Bifurcated Contact) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเที่ยงตรงในการทำงาน แต่ทนกระแสได้ต่ำกว่าแบบหน้าสัมผัสเดี่ยว
    3. หน้าสัมผัสแกนขวางและหน้าสัมผัสคู่ (Gold-Clad Bifurcated Crossbar Contact) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเที่ยงตรงสูงในการทำงาน แต่ทนกระแสได้ต่ำกว่าหน้าสัมผัสคู่