Protocol คือข้อกำหนดหรือสื่อกลางในการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ เปรียบได้กับภาษากลาง เนื่องจากการที่เรานำอุปกรณ์ต่างๆมาติดต่อกันจำเป็นต้องมี Protocol มาเป็นตัวกลางเพื่อการสื่อสารที่ตรงกัน ซึ่งก็มีหลากหลายชนิด อาทิเช่น Serial link, MODBUS RTU, DeviceNET, EtherNet/IP และ EtherCAT
จากข้อมูลข้างต้น รูปที่ 1 (ข้างบน) จะเป็นการต่อแบบ Serial RS-232 และรูปที่ 2 (ข้างล่าง) จะเป็นการต่อแบบ Serial RS-422/485 โดย RS-232 จะได้ ระยะในการต่อสายที่สั้นกว่า!! RS-422/485 ซึ่งข้อจำกัดในข้อนี้จะต้องศึกษาก่อนเลือกใช้งานเนื่องจากทั้งสองแบบเป็น Protocol ขั้นพื้นฐานจึงทำให้มีข้อจำกัดในหลายๆด้าน ทั้งในเรื่องของความเร็วในการสื่อสาร ระยะทาง และในเรื่องของสัญญาณรบกวน
จากรูปที่ 3 จะเป็นการสื่อสาร Protocol ในรูปแบบ DeviceNET ซึ่งระบบนี้จะมาในฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นและช่วยลดความยุ่งยากในการเซ็ตอัพลง เนื่องจากเป็น Protocol ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารเฉพาะทาง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องของระยะทาง สัญญาณรบกวนและค่าสายที่มีราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากจำเป็นต้องใช้สาย DeviceNET โดยเฉพาะ
รูปที่ 4 เป็นการสื่อสาร Protocol ในรูปแบบ EtherNETI/P ซึ่งระบบนี้จะถูกพัฒนาให้มีความเร็วในการสื่อสารที่สูงขึ้น [100M bit/s (100BASE-TX)] และระยะทางในการต่อสายที่ไกลมากขึ้นกว่า 100 เมตร โดยวัดจากระยะทางระหว่างฮับสู่โหนด Protocolรูปแบบนี้ได้พัฒนามาใช้สาย Lan ในการสื่อสารส่งผ่านข้อมูล จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งได้
สรุป :
Protocol คือ ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งการสื่อสารแต่ละรูปแบบต่างก็มีข้อจำกัดในตัวเอง ดังนั้นการเลือกใช้งานจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงข้อจำกัดต่างๆ ทั้งในเรื่องของระยะทาง ความเร็วในการสื่อสาร และชนิดของอุปกรณ์ที่นำมาใช้งานด้วยเช่นกัน