MODBUS RTU เป็นชนิดของโปรโตคอลเพื่อการสื่อสารแบบมาตรฐาน สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆเป็นรูปแบบเลขฐานสอง
โดย Modbus RTU นี้จะสื่อสารข้อมูลในลักษณะ Master/Slave จากอุปกรณ์แม่ (Master) ไปยังอุปกรณ์ลูก (Slave) เครื่องอื่น ๆ ได้หลายเครื่อง
เฟรมข้อมูลในโหมด RTU จะประกอบด้วยข้อมูลแสดงตำแหน่งแอดเดรส 1 ไบต์, หมายเลขฟังก์ชัน 1 ไบต์, ข้อมูลที่ทำการรับส่งจำนวนมากสุดไม่เกิน 252 ไบต์ และรหัสตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบ CRC (Cyclical Redundancy Checking) ขนาด 2 ไบต์
เมื่อ Master ได้รับเฟรมข้อมูลและถอดข้อมูลออกจากเฟรมแล้วจะทำการคำนวณค่า CRC ตามสูตรเดียวกับ Slave เพื่อทำการเปรียบเทียบค่า CRC ทั้ง 2 ค่าว่าตรงกันหรือไม่ หากไม่ตรงกันแสดงว่าเกิดความผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูลจุดใดจุดหนึ่ง หน้าที่ต่อไปของเราก็คือการสืบหาว่ามันจากสาเหตุใดนั่นเอง
การสื่อสารข้อมูลในระบบ Modbus RTU จะทำการรับ-ส่งเป็นชุดข้อมูล โดยใน 1 ชุดนั้นจะต้องประกอบด้วยกัน 6 ส่วน ได้แก่ <<Start, Address, Function, Data, CRC และ End>>
Function code
หลัก ๆ แล้วฟังก์ชันการทำงานจะมีอยู่ 2 แบบ คือ การ “Read” และ “Write” โดยเราสามารถเลือกพื้นที่ที่จะอ่านหรือเขียนข้อมูลไปยัง Coils หรือ Registers ได้ ความแตกต่างระหว่าง Coils กับ Registers มีดังนี้
—> Coils ใช้ในการสั่งงานหรือการรับค่า [On / Off] ในฟังก์ชั่นของอุปกรณ์
—> Register ใช้ในการสั่งงานหรือรับเป็นค่าตัวเลข ในฟังก์ชั่นของอุปกรณ์
การสั่งทำงานของ Omron Invert 3G3-MX2 จะใช้วิธีการ “Write Coils” เพื่อให้ Inverter เริ่มทำงาน ตามรูปแสดงด้านบน
การสั่ง Speed Invert 3G3-MX2 ของ Omron จะใช้วิธีการ “Write Register” เพื่อทำการปรับความเร็ว
สรุป : Modbus เป็นรูปแบบหนึ่งของโปรโตคอลสื่อสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นโปรโตคอลแบบเปิดจึงทำให้มีอุปกรณ์ที่รองรับอยู่มาก ใช้งานได้ง่ายไม่ต้องใช้ซอฟแวร์หรืออุปกรณ์พิเศษ จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในกลุ่มงานอุตสาหกรรม