• Heater – การต่อใช้งานพื้นฐานและวงจรป้องกัน

    Heater /ฮีทเตอร์/ คือ อุปกรณ์สำหรับทำความร้อนประเภทหนึ่งที่อาศัยหลักการของขดลวดตัวนำ เพราะเมื่อมีกระแสไฟไหลผ่านขดลดตัวนำก็จะทำให้เกิดความร้อนขึ้น Heater ถูกจัดอยู่ในประเภทอุปกรณ์ตัวต้านทาน

    ค่ากระแสของ Heater สามารถคำนวณได้โดยตรงจากกฎของโอห์ม แต่ Heater เองก็มีข้อจำกัดอยู่ว่า…“เมื่อค่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงใกล้เคียงค่าสูงสุดที่ Heater สามารถทำได้ ค่าความต้านทานภายในจะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ Heater ชำรุดเสียหายได้ง่าย” เพราะฉะนั้นการต่อใช้งาน Heater จึงจำเป็นจะต้องมีวงจรป้องกันเสมอ!

    การต่อใช้งาน Heater แบบพื้นฐานสามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้น แต่จากวงจรพื้นฐานจากภาพประกอบนี้จะเห็นได้ว่ามีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหายเพียงชิ้นเดียวซึ่งก็คือ Fuse เจ้าสิ่งนี้ทำได้เพียงป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากกรณีที่กระแสเกินพิกัดเท่านั้น


    การต่อใช้งาน Heater แบบพื้นฐานโดยมีวงจรป้องกันจะใช้ควบคู่กับฟังก์ชันการทำงานที่มีในตัว Temp. Controller ได้แก่ ฟังก์ชัน Temp Upper Limit Alarm และ Heater Short Alarm

    สำหรับฟังก์ชัน Temp Upper Limit Alarm จะใช้เพื่อป้องกันในกรณีที่อุณหภูมิสูงเกินกว่าปกติ วงจรจะถูกตัดการทำงานผ่าน MC1 และฟังก์ชัน Heater Short Alarm ใช้เพื่อการป้องกันค่ากระแสที่สูงกว่าปกติ ซึ่งจะตัดการทำงานของวงจรผ่าน MC1 ด้วยเช่นกัน


    การต่อใช้งาน Heater ที่มีวงจรป้องกันรูปแบบนี้จะต่างจากแบบแรกตรงที่มี Temp. Controller แยกมาอีกหนึ่งตัวเพื่อทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันโดยเฉพาะ สำหรับ Temp. Controller 2 เราสามารถเลือกใช้เป็นฟังก์ชัน Temp Upper Limit Alarm เพื่อป้องกันกรณีที่อุณหภูมิสูงเกินกว่าปกติ ส่วน Temp. Controller 1 ก็จะยังคงมีฟังก์ชัน Heater Short Alarm เพื่อป้องกันค่ากระแสสูงกว่าปกติอยู่เช่นเดิม

    การที่เลือกใช้ Temp Controller แบบแยกเป็นอิสระอีกหนึ่งตัวนั้นมีข้อดีตรงที่ ในกรณีที่ Temp Controller ตัวหลักเกิดความเสียหายหรือมีการตั้งค่าผิดพลาด อุปกรณ์ Temp. Controller 2 ก็ยังคงสามารถทำหน้าที่เป็นวงจรป้องกันได้ตามปกติ