• การควบคุม Servo Motor

    การควบคุม Servo Motor นั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น…

    • การสั่งงาน Servo Motor ด้วยการจ่ายสัญญาณ Pulse Train
    • การสั่งงาน Servo Motor ด้วยการจ่ายสัญญาณ Analog
    • การสั่งงาน Servo Motor ผ่านระบบการสื่อสาร (สามารถทดแทนได้ทั้งสัญญาณ Pulse Training และ Analog ในคราวเดียวกัน ) 

    PULSE CONTROL : การสั่งงานควบคุม Servo Motor ด้วยการจ่ายสัญญาณ Pulse Train

              การควบคุม Servo Motor วิธีนี้เป็นการควบคุมตำแหน่งการหมุนของเซอร์โว โดยที่อุปกรณ์ควบคุมหรือ PLC จะส่งสัญญาณ Pulse ออกมาให้ Servo Motor รับรู้ตำแหน่งที่จะต้องทำการเคลื่อนที่ไป ซึ่งระยะทางที่ได้นั้นก็จะเกิดจากการคำนวณจำนวนของ Pulse ประกอบกับทิศทางการหมุนที่ถูกเลือกจากขา Direction

    ข้อดี คือ ใช้งานง่าย เนื่องจากเป็นการควบคุมแบบพื้นฐานจึงมีอุปกรณ์ให้เลือกใช้งานได้หลากหลาย

    ข้อเสีย คือ การต่อใช้งานมีความยุ่งยาก จำเป็นต้องต่ออุปกรณ์หลายชุดเพื่อให้ใช้งานได้

    ANALOG CONTROL : การสั่งงานควบคุม Servo Motor ด้วยการจ่ายสัญญาณ Analog

           การควบคุม Servo Motor วิธีต่อมานี้จะเป็นการควบคุมในเรื่องของความเร็วหรือแรงบิด โดยอุปกรณ์ควบคุม(PLC) จะส่งสัญญาณ Analog ออกมาเพื่อให้ Servo Motor ควบคุมความเร็ว ซึ่งทิศทางการหมุนนั้นก็จะถูกเลือกจากขา Direction เช่นกัน

    สำหรับการทำงานในโหมดนี้ เราจะต้องทำการ On ที่ขาสัญญาณ FW (Forward-เดินหน้า) และ RW (Reverse-ย้อนกลับ) แล้วจึงจะสั่ง Speed ด้วยการส่งสัญญาณ Analog ดังนั้น Servo Motor จึงจะหมุนไปตามทิศทางและตามความเร็วจากค่าสัญญาณที่เราได้กำหนดไว้นั่นเอง

    ข้อดี คือ การสั่งงานไม่ซับซ้อน และยังสามารถใช้เลือกอุปกรณ์ส่งสัญญาณแบบ Analog ที่หาได้ง่ายทั่วไปตามท้องตลาด

    ข้อเสีย คือ ไม่สามารถเห็นค่าแรงบิดหรือค่าความเร็วที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นได้

    COMMUNICATION CONTROL : การสั่งงานควบคุม Servo Motor ผ่านระบบสื่อสาร

          การควบคุม Servo Motor ในรูปแบบนี้จะเป็นการสั่งงานผ่านระบบสื่อสาร เช่น Ethernet IP, EtherCat, SSC NET และ Device Net ทำให้การควบคุม Servo Motor สามารถทำได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถควบคุมทั้งในเรื่องของตำแหน่งและความเร็วได้ด้วยเนื่องจากตัวอุปกรณ์ควบคุม(PLC) สามารถสั่งงาน Servo Motor ได้โดยตรงผ่าน Buffer Memory และยังรับค่า Feed Back หรือค่าอื่น ๆ ได้โดยตรงอีกด้วย

    ข้อดี คือ ใช้งานง่าย อีกทั้งการต่อใช้งานก็ไม่ซับซ้อน เช่น การต่อใช้งานผ่านรูปแบบ Ethernet IP สามารถทำได้โดยใช้เพียงแค่สาย LAN เส้นเดียว เมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ แล้วจึงมีความซับซ้อนน้อยกว่ามาก และหากต้องต่อใช้งานเป็นจำนวนมากก็ช่วยลดเวลาในการต่อลงไปได้มากเช่นกัน การสั่งงานทำได้ง่ายผ่านพื้นที่ภายในโดยตรง

    ข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์เฉพาะทาง