• WMG และ Blue Yonder เตือน!! ผู้ผลิตต้องปลดล็อกทัศนวิสัยในห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างขึ้นมาอีกครั้งหลังการระบาดของโควิด-19

    blue-yonder-digital-supply-chain-visibility.jpg (800×500)

    การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้อุปสงค์(ความต้องการซื้อสินค้า) และอุปทาน(ความต้องการขายสินค้า) ในหลาย ๆ ด้านต่างหยุดชะงักจากการปิดโรงงานลามไปถึงชายแดน ทำให้ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปด้วย และสำหรับความต้องการแต่ปราศจากทัศนวิสัยในห่วงโซ่อุปทานก็จะต้องพยายามอย่างหนักในการปรับตัวและตามให้ทัน

    เทคโนโลยีห่วงโซ่อุปทานดิจิทัลทำหน้าที่สำคัญในทุกขั้นตอนของการผลิตทั้งจากการค้นหาทรัพยากร การควบคุมคุณภาพ ไปจนถึงคลังสินค้าและการขนส่ง

    ณ ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมต่างได้รับคำเตือนด้วยการพูดถึง “การสร้างความแข็งแกร่งให้คืนกลับมา” นั่นจะไม่อาจเกิดผลได้หากผู้ผลิตไม่มีทัศนวิสัยเรื่องอุปสงค์-อุปทานที่ซึ่งห่วงโซ่อุปทานแบบดิจิทัลสามารถทำได้ คำเตือนดังกล่าวนี้มาในรูปผลสำรวจของ WMG (Warwick Manufacturing Group) ที่ทำขึ้นกับบริษัทผู้ผลิตเกือบ 250 ราย* ซึ่งเปิดเผยว่าการขาดทัศนวิสัยและปัญหาด้านแรงงานกำลังสร้างปัญหาคอขวดของห่วงโซ่อุปทานที่ใหญ่ที่สุดขึ้น ดังนี้

    • 47% อ้างว่าเกิดจากการขาดทัศนะวิสัยในกำลังการผลิตของซัพพลายเออร์ และ 37% อ้างว่าเกิดจากการขาดทัศนวิสัยในอุปสงค์ของลูกค้าซึ่งเป็นข้อจำกัดที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทาน
    • มากกว่าครึ่ง (55%) ใช้สินค้าคงคลังเป็นกันชนหลักจากการปรับเปลี่ยนอย่างกระทันหันนี้ สิ่งนี้เชื่อมโยงเข้ากับเงินสดและทำให้องค์กรต่าง ๆ ถูกเปิดเผยได้หากความต้องการลดลง
    • น้อยกว่าหนึ่งในสาม (32%) ใช้ทัศนวิสัยในเครือข่ายอุปทานของตนเพื่อตอบโต้กลับการปรับเปลี่ยนอย่างกระทันหัน และเป็นไปได้ว่าสิ่งนี้อาจเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว

    เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตประเมินความต้องการในห่วงโซ่อุปทาน WMG จากมหาวิทยาลัย Warwick และ Blue Yonder ได้ร่วมกันออกแบบ เครื่องมือเตรียมความพร้อมทางดิจิทัลที่เข้าถึงได้อย่างเสรี ในการประเมินห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่ของตน เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้อยู่ในจุดใดและจะต้องไปยังจุดใดต่อ ผู้ผลิตยังสามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจว่าจะต้องทำอะไรในการไปสู่เป้าหมายและการอยู่รอดในโลกหลังโควิด -19


    ศาสตราจารย์ Jan Godsell จาก WMG แห่งมหาวิทยาลัย Warwick กล่าวว่า “อย่างที่เราได้จัดการอย่างต่อเนื่องกับการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 ที่ซึ่งเดิมทีทัศนวิสัยหรือการมองเห็นอุปสงค์และอุปทานนั้นไม่ได้มีความสำคัญมากเท่านี้ มันได้ช่วยให้ผู้ผลิตวางแผนดำเนินการผลิตได้ดีขึ้นเพื่อลดการใช้สินค้าคงคลังสำรองที่มีราคาแพง”

    “เราหวังว่าเครื่องมือเตรียมความพร้อมทางดิจิทัลของห่วงโซ่อุปทาน สามารถช่วยผู้ผลิตระบุโอกาสในการปรับใช้ให้เข้าสู่ระบบดิจิทัล(Digitisation) เพื่อช่วยให้ธุรกิจของตนอยู่รอดและเติบโตท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์โควิด-19 นอกจากนี้เรายังให้คำปรึกษาเพิ่มเติมกับผู้ผลิตถึงวิธีการบรรลุเป้าหมายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม”


    นาย Alan Duncan ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การผลิตของ Blue Yonder กล่าวว่า “มีคำกล่าวว่า ‘คนฉลาดสร้างบ้านบนศิลา’ และเมื่อยามที่ต้องสร้างขึ้นมาอีกครั้งหลังโควิด-19 ผู้ผลิตต้องวางห่วงโซ่อุปทานดิจิทัลที่ยืดหยุ่นปรับตัวได้ไว้เป็นหัวใจของการดำเนินงาน”

    “ผู้ผลิตต่างๆ ได้ลงทุนมากขึ้นในการเปลี่ยนเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อุปทานแบบดิจิทัลในปีที่ผ่านมา แต่สิ่งสำคัญคือแบบแผนนั้นของผู้ผลิตจะต้องได้รับการผลักดันให้เกิดผล ห่วงโซ่อุปทานดิจิทัลจะช่วยให้ผู้ผลิตมองเห็นได้ตั้งแต่ต้นจนสุดปลายทาง ความยืดหยุ่นและความคล่องตัวจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นของการแพร่กระจายจากการเปลี่ยนแปลงกระทันหันครั้งใหญ่นี้”

    *ข้อมูลดังกล่าวนี้มาจากการสำรวจในผู้ผลิต 248 รายของ WMG เมื่อเดือนกันยายน 2563