ยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติได้กลายเป็นความจริงที่เลื่อนลอยสำหรับบางคนที่ยังทำใจยอมรับกับแนวคิดเรื่องรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติไม่ได้ บ้างอ้างถึงความน่ากลัว เสมือนการมีวิญญานมาขับรถอยู่รอบ ๆ เราบ้างล่ะ
ความหวาดกลัวที่พยายามขัดขวางไม่ให้รถยนต์ไร้คนขับวิ่งบนถนนสาธารณะมาเป็นเวลาหลายปี ในขณะที่ผู้ผลิตรถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติทั้งหลายก็ได้ทำการค้ากันไปเรียบร้อยแล้ว
หนึ่งในลูกค้ารายต้นๆอย่างสนามบินต่างๆ ได้ให้ความสนใจอย่างมากกับเรื่องรถขนส่งไร้คนขับเพื่อการรับส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารกับเครื่องบิน รถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติมีแนวโน้มที่จะใช้งานในพื้นที่ปิดส่วนบุคคล เช่น สนามบิน นิคมอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ งานจัดแสดงสินค้าที่มีบริเวณกว้าง โดยไม่จำเป็นต้องขับเคลื่อนบนถนนสาธารณะ ซึ่งจะสามารถควบคุมการปฏิบัติตามข้อบังคับที่มีน้อยกว่าได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลแห่งชาติและรัฐบาลท้องถิ่นหลาย ๆ แห่งทั่วโลกได้เร่งการริเริ่มที่ให้มีสภาพแวดล้อมในการกำกับดูแลที่เอื้อต่อการขนส่งไร้คนขับให้ก้าวหน้า ไม่ใช่เพียงเพื่อทดลองใช้แต่เพื่อการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบด้วยเหตุผลหลัก คือ โอกาสในการขนส่งสู่พื้นที่ห่างไกลด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลแห่งชาติไม่สามารถเพิกเฉยได้
รถขนส่งอัตโนมัติสามารถเชื่อมคนที่อยู่ห่างไกลในพื้นที่รอบนอกมาสู่ใจกลางเมืองด้วยค่าใช้จ่ายเพียงส่วนหนึ่งของรถโดยสารสาธารณะด้วยคนขับ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ให้บริการซึ่งส่วนมากจะเป็นรัฐบาลท้องถิ่นจะสามารถประหยัดเงินได้จำนวนมหาศาลที่มากพอที่จะนำมาใช้พัฒนาเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทั้งหมดที่ปกครองได้เลย
Robotics and Automation News ได้นำเสนอรายชื่อผู้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีพาหนะขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติอันมีดังต่อไปนี้…
ท่ามกลางการล็อกดาวน์จากเชื้อไวรัสโคโรน่า บริษัท Nuro จากซานฟรานซิสโกได้ผลิตพาหนะขนส่งสินค้าขับเคลื่อนอัตโนมัติเพื่อต่อสู้กับไวรัสตัวร้าย เช่น ขนส่งยารักษาโรคและอื่นๆ ให้กับร้านค้าและขายยาในสาขาต่างๆ ของ CVS Pharmacy โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์
มีการกล่าวว่า Nuro เป็นบริษัทแรกที่ได้รับ “การละเว้นเรื่องการขับเคลื่อนอัตโนมัติ” จากหน่วยงาน National Highway Traffic Safety Administration ด้วยเหตุผลเพื่อการขนส่งสินค้าไม่ใช่คน
อีกบริษัทจากซานฟรานซิสโก ที่มีร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Walmart เป็นลูกค้า และยังให้บริการรถตู้ส่งสินค้ากับ Baidu ของจีนอีกด้วย
พาหนะขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Udelv หรือที่บริษัทเรียกว่า “ ADVs ” สามารถบรรทุกของได้ 800 ปอนด์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อการปรับปรุงเส้นทางโลจิสติกส์ได้อย่างต่อเนื่องขณะปฏิบัติการ
บริษัทสัญชาติอเมริกันผู้ผลิตรถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติที่เรียกว่า “Olli” ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับผู้โดยสาร โดยร่วมมือกับบริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ IBM ในการพัฒนารถขนส่งไร้คนขับ 12 ที่นั่ง และผสานรวมระบบ AI ของตนอย่าง Watson เข้าไว้ด้วย
ผู้ให้บริการรถคนโดยสารขับเคลื่อนอัตโนมัติสัญชาติฝรั่งเศสที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด Navya เป็นบริษัทเจ้าของ “Autonom” พาหนะที่เกือบจะเป็นอันดับต้นๆ ของรายชื่อที่รัฐบาลท้องถิ่นหรือองค์กรต่างๆ นึกถึงเกี่ยวกับตัวเลือกการขนส่งประชากรในพื้นที่ห่างไกล
อีกหนึ่งบริษัทจากฝรั่งเศสเช่นกัน ผู้เป็นผู้ผลิตรถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ประสบความสำเร็จอย่างมากด้านยานพาหนะคนโดยสาร เมื่อไม่นานมานี้ EasyMile ได้เปิดตัวรถลากจูงขับเคลื่อนอัตโนมัติที่สร้างและพัฒนาภายใต้ความร่วมมือกับ Groupe PSA
บริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่เชี่ยวชาญด้านระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติในนาม “people movers” จากประสบการณ์ที่ยาวนานด้านยานยนต์อัตโนมัติ AGVs กว่า 30 ปีของ ZF บริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ยักษ์ใหญ่ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระบบ shared autonomous vehicles (SAVs) ด้วย แต่รถยนต์ไร้คนขับยังคงต้องใช้เวลาสักพักในการนำไปใช้จริงบนถนน
บริษัทเทคโนโลยีจีนยักษ์ใหญ่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องบริการและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและ AI Baidu ได้เริ่มพัฒนาพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติในปี 2556 และไม่นานนี้ Baidu เปิดตัวบริการแท็กซี่ไร้คนขับในปักกิ่ง และดำเนินการเจรจากับคู่ค้าอีก 50 รายเพื่อลงนามในการพัฒนาและการซื้อขายรถบัสขับเคลื่อนอัตโนมัติ Apolong ที่ออกมาใหม่
รถ Apolong เกิดจากความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตยานยนต์จีน (King Long) ในภาคการออกแบบและการผลิต เดือนกรกฎาคม 2561 Baidu ประกาศเปิดตัวรถ Apolong คันที่ 100 ซึ่งถือเป็นการประกาศถึงความพร้อมอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจรับ-ส่งอัตโนมัติเชิงพาณิชย์
บริษัทผู้ผลิตยานยนต์เชิงพาณิชย์จีนประเภทรถประจำทาง เมื่อไม่นานมานี้ Yutong ได้ประกาศ “ความสำเร็จในการทดลองใช้งานรถบัสไร้คนขับครั้งแรกของโลก” บนถนนสาธารณะของจีน บริษัทกล่าวว่า Yutong ของตนมีขนาดเป็นประมาณสองหรือสามเท่าของรถโดยสารสาธารณะขับเคลื่อนอัตโนมัติขนาดปกติ
บริษัทนี้ผลิตโซลูชั่นเซนเซอร์แบบต่างๆ เช่น การตรวจจับแสง และ ranging sensors เพื่อทำให้พาหนะ “มองเห็น” สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวได้
มีอีกหลายบริษัทที่ให้บริการด้านเซนเซอร์ในยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Velodyne และ SICK แต่ LeddarTech นั้นมุ่งเป้าไปที่รถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติโดยเฉพาะ อีกทั้งบริษัทยังกล่าวอีกว่าได้พัฒนาระบบเซนเซอร์ของตนเองที่สามารถกำจัด “dead zones” หรือจุดบอดกาารมองเห็นได้ด้วย
ทางบริษัทอ้างว่าได้พัฒนา “ระบบยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ 6 ระดับที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทเอง” ซึ่งผู้ผลิตยานยนต์โดยส่วนมากจะยึดตาม ระดับยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจาก 0 ถึง 5 ของ SAE นอกจากยังกล่าวรวมถึงเรื่องการพัฒนาแผนที่และการระบุตำแหน่ง เรื่องหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ และเรื่องระบบจัดการยานพาหนะและการควบคุมดูแล
ดูเหมือนว่าบริษัท Coast Autonomous ก็มีรถขนส่งไร้คนขับที่มีรูปลักษณ์ดีไซน์น่าสนใจอยู่ด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากการจำหน่ายรถของตน ทางบริษัทยังให้บริการด้านซอฟต์แวร์อีกด้วยซึ่งผู้ผลิตยานยนต์รายอื่นสามารถนำซอฟต์แวร์นี้ไปติดตั้งในพาหนะของตนได้เลย
Toyota บริษัทที่โด่งดังด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ คาดการณ์ว่าจะแสดงความหลากหลายทางเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะงานการแข่งขันโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในปี 2020 นี้ แต่ก็ถูกยกเลิกไปเนื่องจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หนึ่งในเทคโนโลยีที่ Toyota จะนำเสนอก็คือรถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติที่เรียกว่า “e-Palette”
เดิมทีบริษัท Toyota วางแผนจะสร้าง e-Palette เวอร์ชั่นออกแบบพิเศษชื่อว่า “Tokyo 2020” ออกมาจำนวน 20 คัน แต่ตอนนี้คงจะต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ และต้องหาสถานที่กับกลุ่มลูกค้าใหม่เพื่อให้บริการรถไร้คนขับนี้
Transdev เป็นผู้ประกอบการด้านการขนส่งรายใหญ่ของยุโรป ซึ่งในตอนนี้ได้ลงทุนไปจำนวนมากกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับเครือข่ายการขับเคลื่อนอัตโนมัติเพื่อจะสามารถผลิตรถมินิบัสไฟฟ้าไร้คนขับของตนเอง อีกทั้ง Transdev ได้ลงนามข้อตกลงนานาชาติเป็นครั้งแรกที่จะนำขบวนรถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติมาใช้ในย่านธุรกิจ Rivium ในเมือง Rotterdam
อีกหนึ่งบริษัท Start up ที่จับมือร่วมกับบริษัทประกอบยานยนต์สัญชาติเยอรมันอย่าง “ZF” และ “Bosch” ในการผลิตรถโดยสารคนขับเคลื่อนอัตโนมัติคันน้อยและขนส่งสินค้า ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันหลัก ๆ ในด้านของดีไซน์ คือ ประเภทขนส่งสินค้าจะมีหน้าต่างเพียงแค่ด้านหน้าจุดเดียว เผื่อในกรณีที่จำเป็นต้องใช้คนควบคุม
ทางบริษัทได้กล่าวอีกว่า นี่เป็น “แพลตฟอร์มระบบโมดูลาร์” ที่สามารถปรับเพิ่ม-ลดขนาดต่าง ๆ ได้ และยังบอกอีกว่าตอนนี้ตำรวจในเมือง Aachen ประเทศเยอรมันนีได้อนุมัติเริ่มใช้รถ e.Go Life คันเล็กไปแล้วสี่คัน
บริษัทสัญชาติอเมริกันที่ซึ่งตอบรับกับตลาดยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติขนาดเล็ก โดยรถโดยสารคน “Polaris Gem” นี้มีขนาดเล็กกว่ารถคันอื่นตามรายชื่อนี้ทั้งหมดซึ่งสามารถโดยสารได้สี่คนและยังปรับให้บรรทุกสินค้าได้อีกด้วย
หากพูดกันตามจริงในตอนนี้ Polaris Gem ยังเป็นเพียงแค่รถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรนั้นบริษัท Perrone Robotics ก็ได้มีแพลนที่จะดัดแปลงให้เป็นรถ Polaris Gem ให้เป็นรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ จาการใส่ซอฟต์แวร์เข้าไปและจะขยายขนาดรถเพื่อบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าได้มากขึ้น
พาหนะขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติจากบริษัทสตาร์ทอัพจีนรายนี้ มีจุดเริ่มจากการเป็นรถบรรทุกสินค้าบนถนน แต่เมื่อไม่นานมานี้บริษัทมุ่งเป้าไปที่ตลาดอุตสาหกรรมการผลิตอย่างโรงงานต่าง ๆ เพื่อใช้ขนอุปกรณ์และของอื่น ๆ ภายในสถานที่
1-2 ปีก่อนหน้านี้บริษัทได้ย้ายไปที่ยุโรป และทำการทดลองพาหนะของตนทุกด้านในประเทศต่าง ๆ โดยคาดหวังว่าจะนำเข้าตลาดในปีหน้านี้ (2021) นอกจากนี้ดูเหมือนว่าจะมีโครงการสร้างผู้ให้บริการขนส่งโดยสารบุคคลที่เป็นอิสระที่ซึ่งพัฒนามาจากแพลตฟอร์มเดียวกันนี้ด้วย
บริษัทที่โด่งดังจากการทำเงินทางด้านโทรคมนาคมเป็นหลัก เมื่อปีที่ผ่าน ๆ มานี้บริษัท SoftBank ได้หันมาสนใจด้านหุ่นยนต์เป็นอย่างมาก และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้เข้าสู่ตลาดพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติจากการเปิดตัวรถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติ “SB Drive” ที่ถูกดัดแปลงและรีแบรนด์มากจากบริษัท Navya (อันดับที่ 4)
ไม่ใช่เพียง Navya บริษัทเดียวที่ SoftBank ได้ร่วมมือด้วย จากภาพประกอบที่เห็น “Sensible 4” คืออีกรุ่นหนึ่งของ SB Drive ที่สร้างจากความร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพจากฟินแลนด์
เดิมที Auro Robotics เป็นเพียงบริษัทซอฟต์แวร์ที่พัฒนาแพลตฟอร์มยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติก่อนจะถูกซื้อกิจการโดยบริษัทสตาร์ทอัพแอปพลิเคชัน ride-sharing อย่าง Ridecell ปัจจุบันธุรกิจนี้ได้นำเสนอเทคโนโลยียานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมากมายรวมไปถึงรถขนส่งไร้คนขับ
รถโดยสารของ Auro ที่เปิดให้บริการเป็นหนึ่งในบรรดารถโดยสารสาธารณะไร้คนขับพวกแรก ๆ ที่ใช้ประจำในมหาวิทยาลัย Santa Clara University แคลิฟอร์เนีย
บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสอีกเช่นเคย ที่โดดเด่นด้วยความพร้อมในด้านรถโดยสารขับเคลื่อนอัตโนมัติคันเล็กที่สามารถจุผู้โดยสารสี่คนได้สบายๆ
Milla Pod ดูมีท่าทีจะสนใจการสัญจรแบบออฟโรดในเส้นทางชนบท โดยอ้างว่าเป็น “ผู้ให้บริการการขับเคลื่อนอัตโนมัติที่สามารถจัดการกับพื้นที่แบบออฟโรดด้วยโหมดขับเคลื่อนอัตโนมัติได้เป็นเจ้าแรก”
บริษัทสตาร์ทอัพจากมหาวิทยาลัย University of Michigan ที่ได้รับเงินสนับสนุนหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากค่ายยานยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง Toyota และ BMW จึงไม่แปลกที่จะเข้าร่วมแข่งขันในตลาดยานยนต์ขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วย
ตอนนี้ทางบริษัทได้ให้ความสนใจกับตลาดการเดินทางหลายต่อ (first-mile-last-mile transportation) ในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถแก้ไขปัญหารถติด ระยะเวลาในการรอรถ อีกทั้งปัญหาการเข้าถึงและความพร้อมใช้งาน
Next Future Mobility ได้ออกแบบและกำลังพัฒนาสิ่งในอุดมคติที่ไม่ใช่เพียงยานยนต์ที่แหวกแนวที่สุด แต่ยังเป็นระบบรถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ท้าทายทางเทคนิคที่สุดอันได้แก่ ไอเดียจากตู้รถไฟที่สามารถต่อเพิ่มหรือปลดออกจากตัวรถหลักได้
แม้ว่าตอนนี้แบบรถรุ่นนี้ยังอยู่ในขั้นตอนแบบร่างดิจิตอล แต่บริษัทก็ได้เริ่มเชิญชวนเปิดจองล่วงหน้า อีกทั้งยังเผย prototype ของรถที่ออกแบบมาเพื่อบรรทุกคนซึ่งสามารถดัดแปลงเพื่อการขนส่งสินค้าได้อีกด้วย บริษัทคาดหวังว่าจะได้ผู้ใช้บริการจากภาคสาธารณะเป็นเส้นทางระยะสั้น เช่น ในสนามบินหรือเส้นทางห่างไกลจากรถประจำทาง
บริษัทสตาร์ทอัพจาก MIT ได้ผลิตแบบรถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ดูทันสมัยแต่ก็ยังคงความดั้งเดิมเข้ากับภูมิทัศน์ในเมืองและพาหนะอื่นๆ รอบตัว Optimus Ride ได้เปิดใช้ระบบขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติแล้วในบอสตัน (เขต Seaport) เขตพื้นที่แบบผสมผสานใน South Weymouth ในแมสซาชูเซตส์และใน Brooklyn Navy Yard
นอกจากนี้ภายในสิ้นปี 2563 Optimus Ride ตั้งเป้าการเปิดใช้รถใน 10 โครงการจากความร่วมมือกับ Brookfield Properties ผู้เป็นเจ้าของสถานที่กว่า 100 แห่ง
บริษัทนี้ถือเป็นสิ่งที่เหลือจาก Saab บริษัทผลิตรถเจ้าดังในอดีตจากสวีเดนโดยทางบริษัทได้ออกแบบรถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ดูล้ำยุคลำสมัยที่สุดกว่าได้
แนวคิดรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ InMotion นี้สามารถตั้งค่าให้ทำงานได้หลากหลาย แต่หนึ่งในคุณสมบัติที่น่าสนใจสำหรับรถรุ่นนี้ คือการใช้หน้าต่างกระจกเป็นหน้าจอแสดงข้อมูลสภาพแวดล้อม การควบคุมระบบข้อมูลและความบันเทิงในรถและการโต้ตอบเพิ่มเติม
บริษัทจากนิวซีแลนด์ ผู้รถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติไว้ถึงสามรุ่นโดยที่ทั้งหมดนั้นขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเช่นเดียวกับเจ้าอื่นๆ หนึ่งคุณสมบัติหลักของระบบนำทางของ Ohmio คือความสะดวกในการใช้เส้นทางและการเปลี่ยนเส้นทางเพื่อการใช้งานรถได้ยืดหยุ่นและใช้กับทางไกลได้มากขึ้น
บริษัทจากฟินแลนด์ผู้ร่วมมือกับบริษัท Toyota ในการพัฒนาเซนเซอร์พิเศษที่สามารถคงการใช้งานได้เป็นปกติในฤดูหนาวที่รุนแรงของฟินแลนด์ในอุณหภูมิกว่า -40 องศาเซลเซียส
รถขนส่งขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Sensible4 นี้มีชื่อว่า Gacha ปัจจุบันได้เปิดใช้งานภายใต้การกำกับโดยตรงของคนขับ ซึ่งตัวรถรุ่นนี้ได้รับการออกแบบจากบริษัทญี่ปุ่นอย่าง Muji และเชื่อมต่อกับเครือข่ายระบบจัดการยานพาหนะผ่านแอปพลิเคชัน ผู้โดยสารสามารถจองการเดินทางและติดตามตำแหน่งของรถได้
และบริษัทสุดท้ายจากสหภาพโซเวียตได้แก่บริษัท Cleveron ซึ่งเป็นผู้ที่ผลิตเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น ร้านค้าอัตโนมัติและรถขนส่งไร้คนขับที่เริ่มมากจากรถบรรทุกขนส่งสินค้า
“robot courier” ของ Cleveron นี้เป็นรถประกอบแขนหุ่นยนต์ที่ยื่นออกมาจากตัวรถเพื่อการนำส่งพัสดุหรือสิ่งของให้กับผู้รับ แม้ว่าตอนนี้ทางบริษัทจะยังไม่มีแผนพัฒนารถรับส่งคนที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติเป็นพิเศษ แต่ก็อาจจะเป็นไปได้สักวันหนึ่งในอนาคตหากไม่มีการแข่งขันในภูมิภาค