เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ Autonomous Mobile Robots หรือหุ่นยนต์ AMRs ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถพัฒนาความยืดหยุ่นในการผลิตได้
ในบริบทของการผลิต ความยืดหยุ่นนั้นหมายถึงความคล่องตัวต่อการตอบสนองและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองต่อ ความผันผวนของอุปสงค์ สภาวะตลาด เส้นทางการลำเลียงสินค้า ความพร้อมของแรงงาน ฯลฯ
การแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ถือว่าเป็นบททดสอบความยืดหยุ่นของการผลิตทั่วโลกได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ท่ามกลางความวุ่นวายของวิกฤตโลกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 75 ปีนี้ หุ่นยนต์เคลื่อนที่กลับถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มมากที่สุดว่าจะประสบความสำเร็จ ด้วยเพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตที่นำเอา AMR มาใช้กับการทำงานแบบดิจิทัล ซึ่งสร้างความยืดหยุ่นและปลอดภัยจากโควิดได้
แต่นอกจากแง่มุมด้านดีที่กล่าวมานี้ ผู้ผลิตอาจเกิดคำถามที่สำคัญได้ว่า “มีหลักฐานแน่ชัดหรือไม่ว่าการนำ AMR มาใช้ จะส่งผลดีต่อการผลิตได้จริงๆ ?”
บริษัท OTTO Motors กล่าวว่าในฐานะผู้จำหน่ายหุ่นยนต์ AMR ต้องยอมรับเลยว่าจนถึงตอนนี้ ตัวอย่าง AMR ที่ปรับตามความต้องการของผู้ใช้งานภายในโรงงานผลิตนั้นยังมีจำนวนไม่มาก ในขณะที่ตัวอย่างการปรับใช้งานในสเกลเล็กๆที่แสดงให้เห็นประโยชน์นั้นมีอยู่มากมาย เหตุผลที่ยังขาดหลักฐานที่ชัดเจนของการมีใช้หุ่นยนต์ AMR อย่างเต็มรูปแบบในบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ ๆ นั้นก็คือ…
ครั้งแรกของโลกสำหรับหุ่นยนต์ AMRs
บริษัท OTTO Motors ร่วมมือกับบริษัท PULSE Integration (PULSE) ที่ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขนถ่ายวัสดุ เพื่อพัฒนาการปรับใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR) ในสายการผลิตในระดับสเกลใหญ่เป็นครั้งแรกของโลก
โครงการนี้เกี่ยวกับการปรับใช้งาน OTTO Materials Handling Platform ที่ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตขั้นสูงและระบบโลจิสติกส์ภายในของบริษัทอีคอมเมิร์ซแห่งหนึ่งที่ติดอันดับ F500 โดยมีใช้งาน AMR ทั้ง 2 แห่งได้แก่ 1.)ไซต์งานเดิม และ 2.)ไซต์งานใหม่
ในไซต์งานเดิมที่ขนาดโรงงาน 700,000 ตารางฟุต การปรับใช้ AMR ครึ่งหนึ่งในการขนส่งพาเลทวัตถุดิบ พาเลทสินค้าระหว่างผลิตและพาเลทสินค้าสำเร็จรูปแทนการใช้รถยกของและในไซต์งานใหม่ที่ขนาดโรงงาน 1,000,000 ตารางฟุต มีการใช้ AMR ในพื้นที่ 400,000 ตารางฟุต ในการรวบรวมวัสดุจากคนงานจำแนกเพื่อเอาไปส่งให้กลุ่มเครื่องจักรอัตโนมัติ รวมถึงการรวบรวมวัสดุจากกลุ่มเครื่องจักรด้วย
PULSE ได้วิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์จากการใช้งานหุ่นยนต์ AMR 100% ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการขนย้ายด้วยแรงงานคน ด้วยรถยกของ ด้วยสายพานลำเลียง และด้วยรถ AGVs
การเปรียบเทียบผลประโยชน์ด้านต้นทุน ที่เห็นกันชัดๆ
PULSE แจ้งผลเป็นเอกฉันท์ว่าหุ่นยนต์ AMRs (OTTO 1500) มีต้นทุนเพียง 20% เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายการทำงานของรถยกของในปริมาณเทียบเท่ากันในโรงงานไซต์เดิม โดยค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 40,000-50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ/เครื่อง/ปี และที่ไซต์ใหม่ที่มีใช้หุ่นยนต์ AMR (OTTO 100) มีค่าใช้จ่ายต่อเครื่องโดยเฉลี่ยแล้ว 15,000-25,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเป็นเพียงแค่ 10% ของค่าแรงคนงานขับรถยกเท่านั้น
หากเทียบกับ AGVs แล้ว PULSE พบว่าผลผลิตโดยรวมที่ได้จากหุ่นยนต์ AMRs (OTTO 1500) นั้นคล้ายกัน และดูเหมือนว่า AGVs จะแสดงให้เห็นถึงข้อได้เปรียบมากกว่าในพื้นที่กว้างอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามสำหรับโรงงานที่มีพื้นที่แคบและมีพื้นที่ใช้สอยน้อย ขนาดฐานที่เล็กและความคล่องตัวที่มากกว่าของ AMR (OTTO 1500) ก็ยังได้เปรียบอย่างชัดเจนเนื่องจากหุ่นยนต์ AMR สามารถนำทางเองได้อย่างอิสระแม้มีสิ่งกีดขวางหรือคนเดินไปมา และยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับกลุ่มเครื่องจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มการผลิต ซึ่งPULSE สรุปว่าหุ่นยนต์ AMR ได้เปรียบทางประสิทธิภาพมากกว่าถึง 66% เมื่อเทียบกับระบบ AGV
เมื่อเทียบกับสายพานลำเลียงที่ทำงานตามตำแหน่งที่กำหนดซึ่งไม่ง่ายเลยหากจะเปลี่ยนเส้นทางเมื่ออุปสงค์เปลี่ยนไป PULSE คำนวณแล้วว่าหุ่นยนต์ AMRs (OTTO 100) เพียงเครื่องเดียวสามารถทำงานเทียบเท่ากับสายพาน (250 LF conveyor) เครื่องหนึ่งได้เลยทีเดียว ผลคือการประหยัดต้นทุนได้มากถึง 50% แม้จะนับจากปริมาณโหลดที่เหมาะสม
ท้ายที่สุดบริษัท PULSE ได้เผยผลการวิเคราะห์ว่าสามารถได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) กับ AMR ได้ภายในหนึ่งปี
การคืนทุนจากการประหยัดแรงงาน ผลผลิตและประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น การศึกษาสภาพการทำงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ความปลอดภัยที่ได้รับการพัฒนา เงินทุนที่ลดลง (เทียบกับสายพานลำเลียง) และโอกาสสำหรับการออกแบบในพื้นที่กะทัดรัดยิ่งขึ้น (เทียบกับ AGVs) อีกทั้ง PULSE ยังได้คำนวณ ROI สำหรับการใช้ AMR ในสเกลใหญ่ด้วยระบบเช่าในระยะ 12 เดือน
การใช้สัญญาเช่าเฉพาะเครื่องอาจกินเวลาไปถึง 12-24 เดือน ขณะที่รายจ่ายฝ่ายทุนนั้นล่วงหน้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะได้รับการชำระภายใน 2 ปีหรือน้อยกว่านั้น