• ผู้ผลิตเตรียมพร้อม ย้ายซอฟต์แวร์ไป Cloud!! – IoT Analytics กล่าว

    หนึ่งในสามของผู้ผลิตกำลังวางแผนจะย้ายซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่ไปยังระบบ Cloud ตามผลข้อมูลของบริษัทวิจัย IoT Analytics

    บริษัทผู้ให้บริการด้านข้อมูลการตลาดเชิงลึกและข่าวกรองการแข่งขันใน Internet of Things (IoT) และอุตสาหกรรมยุค 4.0 อย่าง IoT Analytics ได้เปิดเผยว่าจำนวนผู้ผลิตเกือบหนึ่งในสามนั้นกำลังวางแผนจะย้ายซอฟต์แวร์การผลิตไปยัง Cloud เพื่อกระตุ้นการเติบโตของตลาด Cloud MES ทั่วโลกในปีต่อ ๆ ไป

    ข้อดีของระบบ Cloud

    หากเทียบกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ ระบบ Cloud ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพเหนือกว่า ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับขนาดได้ สามารถจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ผ่านทุกอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย

    เห็นได้ชัดเจนว่าในปี 2563 การประชุมทางวิดีโอผ่าน Zoom ส่วนใหญ่นั้นมาจากกรอบโครงสร้างระบบ Cloud ทำให้บริษัทสามารถปรับขนาดการรับรองและจัดการกับลูกค้าใหม่ได้อย่างรวดเร็วในช่วงการระบาด Covid-19 ครั้งยิ่งใหญ่นี้

    “ข้อมูลด้านซอฟต์แวร์การผลิตของเรานั้นเป็นไปตามชุดโปรแกรมและประโยชน์ต่างๆ เช่น การปรับขนาดรองรับที่ทำได้ง่าย การลงทุนล่วงหน้าที่น้อยลง ค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน การติดตั้งที่รวดเร็วและการเข้าถึงในระยะไกล สิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบ Cloud เป็นประโยชน์ต่อซอฟต์แวร์การผลิตของโรงงาน” Sharmila Annaswamy นักวิเคราะห์จาก IoT Analytics กล่าว

    IoT Analytics กล่าวว่า งานสำรวจของ IoT Analytics นี้ได้แสดงให้เห็น 2 แนวทางที่ต่างกันอย่างมากของชุดซอฟต์แวร์ที่กำลังจะย้ายไปยัง Cloud ดังนี้

    • แนวทาง Lift and Shift : ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้วถูก “ยกออก” จากในสถานที่นั้นไปอยู่ในระบบโครงสร้าง Cloud ส่วนตัวหรือสาธารณะที่อยู่นอกสถานที่.
    • แนวทาง SaaS : ซอฟต์แวร์ “Cloud-native” ที่มีผู้ใช้หลายรายและสร้างขึ้นบนระบบ Cloud ที่จัดการโดยเจ้าของซอฟต์แวร์

    ตลาดของ MES บน Cloud

    ในปี 2569 ผู้ใช้ปลายทางจะหันมาใช้ Cloud MES (Manufacturing Execution Systems : ระบบดำเนินการผลิต) มากขึ้นเนื่องจากช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT ล่าสุด และสามารถปรับการรองรับได้ดีกว่าระบบ MES บนภาคพื้น นอกจากนี้การมุ่งเน้นและการลงทุนเพิ่มขึ้นในความพยายามเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัลที่ถูกเร่งให้เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะยิ่งส่งเสริมการโอนย้ายนี้ด้วย

    ปัจจัยที่มีผลต่อการโอนย้าย MES ไปยังระบบ Cloud นั้นมีมากมาย เช่น การลงทุน ค่าใช้จ่ายการดำเนินการ ความสามารถการปรับรองรับ และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การเป็นเจ้าของข้อมูล

    แนวโน้มซอฟต์แวร์การผลิตที่สำคัญในระบบ Cloud

    การนำระบบคลาวด์มาใช้ยังเป็นการเร่งแนวโน้มสำคัญที่จะส่งผลต่อการดำเนินงานของโรงงานในอนาคต แนวโน้มสำคัญสามประการที่ระบุในการวิเคราะห์ของ IoT Analytics มีดังนี้

    1. การบรรจบกันของเครื่องมือกับซอฟต์แวร์

    ความสามารถของเครื่องมือซอฟต์แวร์การผลิตที่สำคัญนั้นทับซ้อนกันมากขึ้นและเห็นได้ชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอินเตอร์เฟซของระบบ ERP กับระบบ MES เช่นเดียวกันกับแพลตฟอร์ม IoT กับระบบ MES โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในระบบ Cloud

    ความสามารถในการจัดการข้อมูล IoT เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ แนวทางที่การทำงานแพลตฟอร์มแบบ MES และแบบ IoT ได้มาบรรจบกันในบริบทของการผลิต และด้วยเพราะเครื่องมือซอฟต์แวร์เหล่านี้ต่างทับซ้อนกันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้ปลายทางจึงมีตัวเลือกที่ของการทำงานซอฟต์แวร์การผลิตที่หลากหลายในปัจจุบัน

    2. การเพิ่มขึ้นของการผสานรวมเครื่องมือ AI

    เนื่องด้วยระบบ Cloud ช่วยให้มีการคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์การผลิตก็ถูกผสานรวมเข้ากับ machine learning และเครื่องมือที่ใช้ AI มากขึ้น

    ทั้งผู้ใช้ MES ที่จัดตั้งขึ้นมาและสตาร์ทอัพใหม่ๆ ต่างกำลังสร้างโมดูลซอฟต์แวร์การผลิตที่ใช้ AI เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตนเอง ยกตัวอย่างเช่น HYDRA MES ของ MPDV ที่ในตอนนี้มีโซลูชั่นคุณภาพที่เราเองก็สามารถคาดเดาได้

    3. การเพิ่มขึ้นของการผสานรวมความสามารถ Digital Twin

    ด้วยการใช้ความสามารถในการปรับขนาดการรองรับที่รวดเร็วและที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบ Cloud เครื่องมือซอฟต์แวร์การผลิต (โดยเฉพาะแพลตฟอร์ม MES และ IoT) จึงเกิดการผสานรวมตัวกันด้วยดิจิทัลตามแบบจำลองของโรงงาน เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินการจำลอง การวิเคราะห์แบบ what-if สถานการณ์ และการใช้งานอื่นๆ

    ยกตัวอย่างเช่น Plex ผู้ให้บริการ MES ได้เสนอการวิเคราะห์แบบ “what-if” ที่ใช้ประโยชน์จากการดำเนินงานแบบ digital twin เพื่อจำลองความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงาน เช่น เวลาการทำงาน การหยุดการทำงานเพื่อซ่อมบำรุง หรือความพร้อมใช้งานโมดูล Predix APM ของ GE ที่มีระบบจัดการประสิทธิภาพอุปกรณ์แบบ digital twin

    แนวโน้มในอนาคต

    อดีตผู้บริหารของ Manufacturing Enterprise Solutions Association กล่าวว่า “ที่ผ่านมาสมาชิกของเราไม่ได้พูดถึงระบบ Cloud กันมากนัก ด้วยเพราะทัศนะคติที่ว่า ‘มันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้’ ที่มีในตอนนั้น”

    “ ทันใดนั้นเองในปี 2560 มันก็เกิดขึ้นแล้ว ทุกคนใช้ระบบ Cloud อย่างลับๆ ในทางเทคนิคแล้วมันทำได้ดีกว่าพวกเขาที่นั่งอยู่ในออฟฟิศมาก ”

    และเช่นกันก็ยังมีผู้ใช้ปลายทางอีกมากมายในอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ยังคงยืนกรานจะไม่ย้ายส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์การผลิตไปยัง Cloud ด้วยเพราะเหตุผลเรื่องความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ความน่าเชื่อถือ หรือความกังวลเรื่องเวลาหน่วง

    แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะย้ายการทำงานซอฟต์แวร์การผลิตไปยังระบบ Cloud จากผลประโยชน์ที่มีมากกว่าต้นทุนและความเสี่ยงในหลาย ๆ ทาง

    ข้อมูลของ IoT Analytics ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าซอฟต์แวร์ที่ไม่สำคัญและไม่เรียลไทม์สำหรับธุรกิจ จะนำไปสู่การโอนย้าย การดำเนินการวิเคราะห์การควบคุมระดับพื้นที่การผลิตจะใช้เวลานานกว่าในการย้ายไปยังระบบ Cloud

    อย่างไรก็ตาม การพัฒนาใหม่ๆ ใน 5G และการสื่อสารไร้สายมีแนวโน้มว่าจะจัดการกับปัญหานี้ได้อีกทั้งจะเป็นเสมือนการเปิดประตูให้กับปริมาณงานผลิตที่มีมากขึ้นอีกด้วย และเมื่อใช้ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างปัญญาประดิษฐ์(AI) และระบบ digital twins ระบบ Cloud จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งที่จะมาปรับปรุงการดำเนินการผลิต