ทุกวันนี้การสร้างพื้นที่ทำงานที่มนุษย์และหุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่ใช่เพียงอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย แต่ยังมีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้นด้วย นั่นก็เป็นเพราะสิ่งที่เรียกว่า Connected Industry หรือการแชร์ข้อมูลทั้งหมดร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์คำตอบที่ดียิ่งขึ้น
ภายใต้ยุคอุตสาหกรรม 4.0 การใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่(Mobile Robots) และหุ่นยนต์แขนกลเคลื่อนที่(Mobile Manipulators) ทำให้เกิดระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมที่มีความยืดหยุ่นและเป็นอิสระซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้าง Smart Factories ข้อดีสูงสุดนั้นคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานเทคโนโลยีอันชาญฉลาดล่าสุดไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต ปัญญาประดิษฐ์และ Big Data ลงในหุ่นยนต์ ผลลัพธ์ที่ได้คือการสร้างกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้นด้วยการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ากว่าเดิม และโดยทั่วไปแล้วนั่นหมายถึงผลผลิตที่มากขึ้นนั่นเอง
หุ่นยนต์เคลื่อนที่กับการใช้งานทางอุตสาหกรรม
เหล่า Collaborative Mobile Robotics หรือหุ่นยนต์เคลื่อนที่ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์นี้สามารถมีส่วนรวมในงานประเภทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขอบคุณกระบวนการวิจัยพัฒนาต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นงานพัฒนาหุ่นยนต์ของบริษัท Robotnik ที่เหล่า collaborative mobile robotics นั้นสามารถรับผิดชอบงานที่มีกระบวนการทำงานที่ซ้ำไปซ้ำมาจากการใช้ TIC และเทคโนโลยีอัจฉริยะมาปรับใช้กับการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์และการปรับปรุงการทำงานส่วนอื่นๆ
ปัจจุบันนี้ หุ่นยนต์เคลื่อนที่และหุ่นยนต์แขนกลเคลื่อนที่ สามารถทำงานอุตสาหกรรมทั่วไป อย่างการป้อนชิ้นงาน การวัดวิเคราะห์ (metrology) การควบคุมคุณภาพ การทำงานกับชิ้นส่วนขนาดใหญ่หรือบรรจุภัณฑ์ การขัด การขันสกรู และการเจาะ ที่อาศัยการทำซ้ำ ๆ และสม่ำเสมอ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการประหยัดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงการทำงาน
Collaborative Mobile Robotics จะสร้าง Smart Factories ได้อย่างไร ?
หุ่นยนต์เหล่านี้สามารถสร้าง Smart Factories ได้ด้วยคุณสมบัติ 3 ประการดังต่อไปนี้
หุ่นยนต์เคลื่อนที่สามารถสร้างและประมวลผลข้อมูลได้ มันไม่เพียงแต่จะทำงานได้เองโดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย แต่ยังสามารถจัดการตัวเองและตัดสินใจเองได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ไม่เพียงแต่ความสามารถในการทำงานขั้นตอนซ้ำ ๆ และอันตรายได้ แต่ยังสามารถเลือกเส้นทางหรือปรับการเคลื่อนไหวตัวเองได้อยู่เสมอด้วยข้อมูลที่รวบรวมแบบเรียลไทม์
เกิดการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรต่อเครื่องจักร (Machine to Machine-M2M) ขึ้น ด้วยวิธีการสร้างระบบแบบกระจายและความเป็นไปได้สำหรับหุ่นยนต์ในการตอบสนองกับมนุษย์ผ่านส่วนต่อประสานในตัว
หุ่นยนต์เคลื่อนไหวที่มีระบบนำทางอันชาญฉลาดสามารถปรับตัวได้อย่างยอดเยี่ยม หุ่นยนต์เหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานได้ตามความต้องการและตามสภาพแวดล้อมที่ทำงาน เช่น การปรับความเร็วหรือการคิดเส้นทางเผื่อเลือก
ด้วยความสามารถเหล่านี้ในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของตลาด ผู้ผลิตหุ่นยนต์เคลื่อนที่อย่างบริษัท Robotnik ได้ก้าวนำหน้าไปอีกขั้นด้วยการสร้าง Mobile Manipulators ที่ทำให้ แขนกลหุ่นยนต์ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมร่วมกับมนุษย์มีความคล่องตัวและอิสระจากการเชื่อมต่อแบบ plug and play ที่แสนจะเรียบง่าย
หุ่นยนต์ของ Robotnik ในยุคอุตสาหกรรม 4.0
Robotnik ผู้ซึ่งเป็นผู้นำด้านหุ่นยนต์เคลื่อนที่และหุ่นยนต์แขนกลเคลื่อนที่ ตอบรับความต้องการของลูกค้าด้านอุตสาหกรรม ซึ่งมีเป้าหมายเรื่องการมีประสิทธิภาพสูงสุดในขั้นตอนการทำงานของลูกค้า ประสิทธิภาพที่ว่านี้จะเกิดขึ้นได้จาก…
Robotnik พัฒนาระบบFleet Management System (FMS) ของตนที่จัดการกลุ่มหุ่นยนต์ได้อย่างสมบูรณ์และควบคุมได้จากจุดเดียว ทำให้ผู้ควบคุมสามารถจัดการกับระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้จากอุปกรณ์หลากหลายประเภทผ่านทางโปรโตคอลสื่อสารที่มีมาตรฐาน ดังนั้นการเข้าถึงหุ่นยนต์ก็จะสามารถทำได้จากทุกที่ (ออฟฟิศ คลังสินค้า บ้าน ฯลฯ) และจากอุปกรณ์ทุกประเภท (PDA โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต แล็ปท็อป ฯลฯ)
และด้วยระบบ User Interface ขั้นสูง (HMI) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างแผนที่และเส้นทางได้ด้วยวิธีที่ง่ายและตอบสนองได้ด้วยจุด Waypoints เพื่อการกำหนดตำแหน่ง
นอกจากนี้ Collaborative Mobile Robots ยังมีประโยชน์อีกมากในตลาดอุตสาหกรรม เช่น
กระบวนการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องนี้ทำให้หุ่นยนต์เริ่มที่จะจัดการกับหน้าที่ใหม่ ๆ ในภาคการทำงานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด