ทราบกันหรือไม่คะว่า หากเมื่อเราพูดถึงเรื่องของการควบคุมระดับน้ำ ห้องน้ำถือเป็นตัวอย่างจากชีวิตประจำวันที่ดีเลยทีเดียว โดยอุปกรณ์ที่เราจะใช้ในการควบคุมระดับน้ำในห้องน้ำหรือในโถสุขภัณฑ์ก็คงไม่สิ่งอื่นใดได้นอกเสียจาก “ลูกลอย” วิธีการนี้จัดว่าเป็นวิธีอย่างง่ายที่ใช้ต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงาน และ ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า
อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ยังถือว่ามีข้อผิดพลาดอยู่ เช่น ลูกลอยอาจเกิดความเสียหาย ชิ้นส่วนกลไกบางจุดอาจเกิดการสึกกร่อนจากการใช้งานเป็นเวลานาน หรือแม้กระทั่งความยาวของแขนลูกลอยที่อาจไม่พอดีกับภาชนะเป็นต้น
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการควบคุมระดับน้ำ โดยการปรับมาใช้การควบคุมด้วยไฟฟ้าแทน ด้วยวิธีการนี้เอง ชิ้นส่วนต่างๆก็สามารถยืดอายุการทำงานได้นานยิ่งขึ้นเนื่องจากไม่มีการเคลื่อนที่ใดๆอีกต่อไป
เมื่อเปรียบเทียบการควบคุมระดับน้ำด้วยระบบไฟฟ้ากับวิธีการอื่นๆแล้ว การควบคุมแบบ Float less level จึงถือเป็นวิธีการที่มีเสถียรภาพและต้นทุนต่ำที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น ในโรงงานผลิตอาหาร, โรงงานเหล็ก, โรงงานบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
เป็นอุปกรณ์ควบคุมระดับของเหลว โดยใช้แท่งอิเล็คโทรดเป็นตัวตรวจจับระดับของเหลวแล้วจึงส่งสัญญาณให้ตัวควบคุมระดับของเหลว เพื่อสั่งการเปิด-ปิดมอเตอร์ปั้มน้ำ
ในระบบ 1 ควบคุมของเหลว ประกอบไปด้วย..
1. ตัวควบคุม (Controller) และชุดรีเลย์
2. แท่งอิเล็คโทรด (Electrode)
3. ตัวยึดแท่งอิเล็คโทรด (Electrode holder)
4. ตัวกันไม่ให้แท่งอิเล็คโทรดสัมผัสกัน (Separator)
5. Connecting nut (น็อตต่อเชื่อม), Lock nut (น็อคล็อก) และ Spring washer (แหวนรองน็อต) ใช้สำหรับการต่อแท่งอิเล็คโทรด 2 แท่งเข้าด้วยกัน