ปัญหา : ในกระบวนการบรรจุบะหมี่และซอสปรุงรส บางครั้งเราอาจพบว่าไม่มีซองเครื่องปรุงในบรรจุภัณฑ์ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของคนงาน ลูกค้าจึงต้องการใช้เซนเซอร์เพื่อตรวจสอบว่ามีซองซอสอยู่หรือไม่เพื่อให้แน่ใจก่อนส่งไปยังแผนกบรรจุภัณฑ์ ออมรอนจะมีโซลูชั่นไหนเพื่อการแก้ปัญหานี้
ออมรอนขอนำเสนอโซลูชั่นการติดตั้งเลเซอร์เซนเซอร์รุ่น E3NC-SA21 ( CMOS ) พร้อมหัว E3NC-SH250 โดยเซนเซอร์จะสามารถตรวจจับได้ว่ามีหรือไม่มีซอสเครื่องปรุง นอกจากนี้แล้วการ teching ยังมีจุดเด่นด้านการปรับแต่งตั้งค่าการตรวจจับได้ง่าย ๆ ทั้งแบบมีและไม่มีซอส
ประโยชน์ที่ผู้ใช้งานจะได้รับ คือ
ปัญหา : ลูกค้าต้องการใช้เซนเซอร์ตรวจสอบตำแหน่งของถาดก่อนเติมแคร็กเกอร์ แต่ไม่สามารถใช้หัวไฟเบอร์แบบธรรมดาได้ด้วยเพราะถาดขนมที่แตกต่าง ออมรอนจะมีโซลูชั่นดีๆอะไรเพื่อมาแก้ปัญหานี้
ออมรอนขอนำเสนอโซลูชั่นการใช้หัวเซนเซอร์ รุ่น E32-T16PR พร้อม E3X-HD ด้วยโซลูชั่นนี้ชนิดของถาดขนมแคร็กเกอร์ก็จะไม่มีผลต่อการตรวจจับเซนเซอร์อีกต่อไปเนื่องจากหัวเซนเซอร์เป็นแบบแถบ
ประโยชน์ที่จะได้จากโซลูชั่นนี้ คือ
ปัญหา : สำหรับขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของบรรจุภัณฑ์ว่ามีรอยตะเข็บหรือไม่ ก่อนที่จะส่งไปยังขั้นตอนต่อไป ซึ่งลูกค้าต้องการใช้เซนเซอร์ตรวจสอบรอยต่อของกระป๋องเพื่อยืนยันความถูกต้อง
ออมรอนขอแนะนำโซลูชั่นการติดตั้งไฟเบอร์เซนเซอร์รุ่น E3NX-FA พร้อม E32-CC200 เพียงปรับแต่งตั้งค่าเซนเซอร์ทั้งแบบมีและไม่มีตะเข็บ เซนเซอร์ทั้งสองตัวนี้จะตรวจจับตำแหน่งที่เหมาะสมของกระป๋องก่อนจะส่งไปยังขั้นตอนถัดไป
ประโยชน์ที่ได้รับจากโซลูชั่นนี้ คือ
ในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์ บางครั้งการติดแผ่นฉลากก็อาจขยับเลื่อนไปซ้าย-ขวาซึ่งแน่นอนว่าสิ่งนี้มีผลต่อบรรจุภัณฑ์และสินค้า ทั้งนี้ลูกค้าจึงต้องการใช้เซนเซอร์เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของฉลากและส่งไปยัง PLC เพื่อที่จะปรับลูกกลิ้งให้ได้ตรงตำแหน่งที่ถูกต้อง ออมรอนนำโซลูชั่นแบบไหนมาช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
ออมรอนขอนำเสนอโซลูชั่นการติดตั้งไฟเบอร์เซนเซอร์รุ่น E3X-HD สองตัวควบคู่กับเลนส์อีกหนึ่งตัวสำหรับตรวจจับขอบฉลาก และอีกสองตัวสำหรับตรวจจับฉลากนอกระยะในการตั้งค่าใช้งานทั้งแบบที่มีและไม่มีการปรับวัตถุ เอาต์พุตเซนเซอร์ชนิดไฟเบอร์สองตัวนี้จะทำงานภายใต้สภาวะดังรูป
ประโยชน์ที่ได้รับจากโซลูชั่นนี้ คือ
… ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จำกัด …